คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน
คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์
คัมภีร์ใบลาน ขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวพุทธ
ทีมงานโครงการพระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย จึงนำคัมภีร์ใบลานเหล่านี้ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอดีต มาเชื่อมต่อกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อสานต่อไปยังอนาคต ด้วยการใช้กล้องคุณภาพสูงบันทึกหน้าคัมภีร์ใบลานเป็นไฟล์ภาพดิจิทัล เพื่อทำสำเนาสำรองเก็บรักษาเอกสารต้นฉบับ ทำให้ผู้สนใจสามารถศึกษาจากไฟล์ภาพโดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงคัมภีร์ต้นฉบับโดยตรง
คัมภีร์ใบลาน : สนองคุณพระศาสน์บทบาทสตรีไทย
แม้พระพุทธศาสนาจะให้โอกาสในการบวชเรียนแก่บุรุษมากกว่าสตรี อย่างไรก็ตามในกรอบ ของวัฒนธรรมยังมีการจัดสมดุลของการจรรโลงพระพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนความสำนึกรู้คุณของฝ่ายหญิงผ่านสายสนองเส้นผม ที่ร้อยรวมแผ่นคัมภีร์ใบลาน
แผ่นดินไหว กับการค้นพบคำทำนายจากคัมภีร์ใบลานอายุ 200 ปี
ค้นพบใบลานเก่าแก่ ทำนายเหตุการณีแผ่นดินไหว เป็นคัมภีร์ใบลานเก่าแก่อายุมากถึง 200 ปี ซึ่งเขียนขึ้นในปีกุน 2383 ศก ผ่านมาแล้วถึงปัจจุบันเป็นเวลา 174 ปี . . .
คัมภีร์ใบลานราษฎร์ ร่วมสืบศาสน์และชาติไทย
พระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาประดิษฐานในแผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ราวปีพุทธศตวรรษที่ 3 เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะ มหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย โปรดเกล้าฯ ให้พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางจากแคว้นมคธมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบนี้ ซึ่งช่วงเวลานั้นประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง และมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่จังหวัดนครปฐ
คัมภีร์ใบลาน มรดกธรรมจากพุทธกาล
การจารจารึกเป็นตัวอักษรขึ้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของการสืบทอดคำสอนด้วยใบลานนับแต่นั้นเป็นต้นมา เนื่องจากเดิมคัมภีร์บาลีสืบทอดต่อกันมาด้วยมุขปาฐะ ภาษาบาลีจึงไม่มีตัวอักขระ เป็นเพียงเสียงเท่านั้น
คัมภีร์ใบลาน "ผ้าห่อถักทอด้วยศรัทธา"
หนังสือใบลานเป็นเอกสารโบราณที่ใช้จดจารคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ ความสำคัญของหนังสือใบลานในประเทศไทยมีมาพร้อม ๆ กับการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา คนไทยโบราณจึงมักเรียกหนังสือโบราณนี้ว่า “คัมภีร์ใบลาน” คติการสร้างคัมภีร์ใบลานในหมู่พุทธศาสนิกชนนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเชื่อว่าจะได้อานิสงส์อันยิ่งใหญ่จะนับจะประมาณมิได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีธรรมเนียมนิยมสร้างคัมภีร์ใบลานถวายไว้กับพระศาสนามากมาย
หีดธัมม์ งานศิลป์ ถิ่นเหนือ
หีดธัมม์ หรือ หีดธรรม เป็นคำที่ชาวเหนือใช้เรียกหีบเก็บคัมภีร์ใบลาน มีใช้สืบต่อกันมาแต่โบราณกาลในดินแดนล้านนา ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนาซึ่งเป็นอักษรที่ใช้อย่างแพร่หลายบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หีบพระธรรมที่ใช้ในภูมิภาคนี้นับว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากหีบเก็บคัมภีร์ใบลานของภาคอื่น เพราะมีลักษณะเป็น “ทรงลุ้ง” คือเป็นทรงสี่เหลี่ยม ด้านล่างของฐานสอบเข้า ส่วนปากหีบผายออก มีฝาครอบปิดด้านบนซึ่งมีหลายลักษณะทั้งฝาตัด ฝาคุ้ม และฝาเรือนยอด
บูรพกษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าพระไตรปิฎกภาษาบาลีเข้ามาสู่ประเทศไทยใน ๒ ช่วง คือประมาณปี พ.ศ. ๑๖๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเถรวาทเผยแผ่จากประเทศพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และประมาณปี พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่ จากประเทศศรีลังกามาทางนครศรีธรรมราช
คัมภีร์ใบลาน ร้อยเรียงลาน...สืบสานพุทธธรรม
คัมภีร์ใบลานจัดเป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่ยังคงพบเห็นได้ตามวัด พิพิธภัณฑ์ หรือหอสมุด คัมภีร์ที่ผ่านการ สำรวจแล้วจะได้รับการขึ้นทะเบียน มัดจัดเก็บในห่อผ้าไว้เป็นอย่างดี แล้วจะถูกรักษาไว้ในหอไตรบ้าง ในหีบคัมภีร์บ้าง ในตู้กระจกบ้างทั้งนี้เพราะคัมภีร์ที่มีอายุเก่าแก่หลายร้อยปีนี้ล้วนอยู่ในสภาพที่เปราะบาง ต้องได้รับการดูแลอย่างทะนุถนอม