ทำอย่างไรจึงจะมีผิวพรรณที่สวยงาม น่าดู น่าชม ?
ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
เป้าหมายชีวิตของมนุษย์
เป้าหมายชีวิตนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นจุดหมายปลายทางของการดำเนินชีวิตของเรา หากเรามีเป้าหมาย ความคิด คำพูด และการกระทำทุกอย่างในแต่ละวันจะมุ่งไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งไว้ หากเราไม่ต้งั เป้าหมายชีวิตไว้ เราก็จะไม่ต่างอะไรกับนกกาที่หากินเพื่อความอยู่รอดไปวันหนึ่ง ๆ เมื่อหมดอายุขัยก็ตายจากโลกนี้ไป คนมีเป้าหมายชีวิตเปรียบเสมือนเรือเดินสมุทรที่มีหางเสือ มีกัปตันคอยชี้ทางว่าจะนำเรือมุ่งหน้าไปทางไหน เรือเดินสมุทรลำนี้จึงต่างจากขอนไม้ที่ล่องลอยอย่างไร้จุดหมายอยู่กลางทะเล ถูกคลื่นลูกนั้นลูกนี้ซัดไปมาให้เคว้งคว้าง และผุพังจมไปตามกาลเวลา
คำพระตถาคต
สมัยนั้นแล เด็กอ่อนได้แต่นอน นั่งอยู่บนตักของอภัยราชกุมาร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอภัยราชกุมารว่า ดูก่อนราชกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความตระหนี่เป็นภัยในวัฏฏะ
คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจนจึงไม่ให้อะไรๆ แก่ผู้ใดเลย ความกลัวยากจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอดอยากข้าว ความกลัวนั่นแหละ จะกลับมาถูกต้องคนพาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ผู้ชนะสิบทิศ ตอนที่่ ๓ ( ท่องทั่วโลกธาตุ )
มีคำหนึ่งที่ทุกท่านได้ยินกันบ่อยๆ คือคำว่า อนันตจักรวาล หมาย ถึง จำนวนจักรวาลที่นับไม่ถ้วน ดังข้ออุปมาเพื่อให้ทุกท่านพอจะนึกภาพออก สมมติว่า ถ้าเราเอาแสนโกฏิจักรวาลที่กล่าวมานั้น ทำให้เป็นพื้นที่ว่างๆ
อัมพชาดก ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ในฤดูแล้งที่ยาวนาน แหล่งน้ำดื่มกินเหือดแห้ง ดาบสหนุ่มได้ทำรางไม้และตักน้ำมาเติมจนเต็มเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายดื่มกิน จนตัวท่านเองเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรง สัตว์ทั้งหลายเห็นความลำบากของท่าน จึงพร้อมใจกันนำผลไม้จากป่าเอามาให้ดาบสในทุกๆ วัน
อานิสงส์ถวายน้ำอ้อย
“นายโคบาลย่อมต้อนโคทั้งหลาย ไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด ความแก่ชราและความตายย่อมต้อนอายุ ของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น” (ขุ.ธ.)
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
สะอาดกาย สะอาดใจ
“สัตว์ทั้งหลายสะดุ้งต่ออาชญากันหมด เพราะชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น คนควรเอาตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ แล้วไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่ากัน” (ตุณฑิลชาดก)
ศีลธรรม-มนุษยธรรม
การฆ่าหรือประทุษร้ายร่างกายผู้อื่นรวมทั้งสัตว์ทั้งหลาย ล้วนชื่อว่านำความทุกข์กาย ทุกข์ใจมาสู่ตนและผู้อื่น ได้ชื่อว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ 1 ซึ่งเป็นมนุษยธรรม การละเมิด ศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะถึงขั้นศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย ล้วนแต่เป็นการทำลาย คุณภาพใจให้เสื่อมลง