มีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
อารมณ์กับการเกิดโรค
กายกับใจมีผลต่อกัน ถ้าใครมีสุภาพใจที่ดีมักจะมีร่างกายที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าใครปล่อยให้อารมณ์ของตัวเองไหลไปตามสิ่งเร้าจากภายนอกมากระตุ้นทำให้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ มักจะมีสุขภาพไม่ดี วันนี้เราจึงมาพูดถึง ว่าอารมณ์ต่างๆมีผลต่อรางกายของเราอย่างไร และเป็นปัจจัยให้เกิดโรคได้อย่างไร
ความงามอันจอมปลอม
ความงดงามของร่างกายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เพราะนอกจากตนเองจะเกิดความพึงพอใจแล้ว ยังเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ได้พบเห็นอีกด้วย
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
ต้นทุนแห่งความดี
กุฏิสามฤดู ต้นทุนแห่งความดีหลังนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความดีของคนในหมู่บ้านครับ คงไม่ต้องรอความพร้อมใด ๆ หรือรอการสร้างอาคารหลังใหม่ เพียงแค่กายและใจของทุกคนพร้อม ก็สามารถทำความดีได้ สามารถนั่งสมาธิได้ทุก ๆ เวลาครับ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - ไม่มีความเห็นผิด ชีวิตปลอดภัย
ปัจจุบันนี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ยุคที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ แม้จะอยู่ไกลกันคนละซีกโลก ก็สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารภายในเวลาไม่กี่นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังตกอยู่ในกระแสโลกที่เรียกว่า โลกานุวัตร หมายความว่า เป็นไปตามโลก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรระวังจากการรับฟังข่าวสาร คือ เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องใดแล้ว ควรใช้โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณา ให้ละเอียดรอบคอบ ใช้สติและปัญญาพิจารณาเหตุผล
อภินิหารของการทำโยคะ-สมาธิ บังคับยีนให้รวมหัวกันต้านเครียด
ปราศจากวิญญาณ
วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผี แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณ คือ จิต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือ จิตจึงมีหลายประเภทเช่น จักขุวิญญาณ หรือ จิตเห็น โสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน ดังนั้นเมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น(จักขุ วิญญาณจิต) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น
อิทธิบาท ๔ : มรดกธรรมของหลวงปู่วัดปากน้ำ
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่า อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวลแปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น
ขอเชิญร่วมจัดพิมพ์สมุดภาพครบรอบ 10 ปี ศูนย์สมาธิฯ จอร์แดน-ไทย
ขอเชิญร่วมจัดพิมพ์สมุดภาพครบรอบ 10 ปี ศูนย์สมาธิฯ จอร์แดน-ไทย "Gift from Happiness " หนังสือแห่งเส้นทางสันติภาพในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ของตะวันออกกลาง ที่คัดสรรโอวาทการปฏิบัติสมาธิ เพื่อการเข้าถึงสันติสุขภายใน เนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีศูนย์สมาธิจอร์แดน - ไทย ฯ