ข้อคิดธรรมะของพระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม) จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย"
ข้อคิดธรรมะ จากหนังสือ "หน้าสุดท้าย" ข้อคิดสาระ... เพื่อจุดเริ่มต้นที่ดีของชีวิต... โดยนวธรรม พระสุธรรมญาณวิเทศ (สุธรรม สุธมฺโม)
มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล
มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม รู้จักควบคุมการแสดงออก รู้ประมาณในโภชนาหาร มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน
ดับกิเลส
กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้าย
ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
หลักธรรมยุติข้อขัดแย้ง
คำถาม : เวลาเกิดข้อขัดแย้งกัน โดยต่างฝ่ายก็มีเหตุผลของตัวเอง เราจะใช้หลักธรรมะข้อใดที่จะมาตัดสินยุติข้อขัดแย้งดังกล่าวคะ ?
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้ เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
มีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ)
กามคุณ ในพระพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ
กลิ่นปุปผชาติ ก็หอมทวนลมไม่ได้
กลิ่นปุปผชาติ ก็หอมทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ ก็หอมทวนลมไม่ได้ แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมได้