มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ความโศกสิ้นสุด เมื่อจิตหลุดพ้น
เมื่อลูกชายเติบโตวิ่งเล่นได้ พลันเกิดเหตุพลิกผันวิถีชีวิตของนางโดยสิ้นเชิง ลูกชายของนางเกิดล้มป่วยลง และตายจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้นางเกิดความโศกเศร้าเสียใจ อาลัยอาวรณ์ต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก จนไม่เป็นอันกินอันนอน นางไม่สามารถควบคุมสติของตนได้ กลายเป็นคนเสียสติในทันที
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - โมฆะของชีวิต
ด้วยหัวใจยอดกัลยาณมิตร ปรารถนาที่จะให้ฤๅษีหักห้ามความเศร้าโศกให้ได้ จึงตรัสว่า "สัตว์ทั้งหลายมีมากมายที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายไปแล้ว แต่ท่านรู้ไหม การร้องไห้เศร้าโศกนั้น สัตบุรุษกล่าวว่า เป็นโมฆะของชีวิต ทำให้ชีวิตและจิตใจมัวหมอง หากท่านปรารถนาที่จะให้ใจผ่องใส จงหักห้ามความโศกเถิด"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - แม้ตายก็ไม่ทิ้งธรรม
คืนนั้น มีนายพรานคนหนึ่งเห็นท่าน คิดว่าเป็นเนื้อ พุ่งหอกออกไป หอกได้ปักทะลุอก ครั้นนายพรานเห็นว่าเป็นพระ ก็ตกใจรีบเข้าไปหา พระเถระตั้งสติใจไม่เคลื่อนจากฐานที่ตั้งของใจ ท่านขอให้นายพรานชักหอกออก แล้วเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผลไว้ แม้เลือดจะไหลไม่หยุด แต่สภาวะใจของท่านยังคงสงบนิ่งไม่กระเพื่อม ท่านตั้งใจมั่นว่าจะเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แม้ตายจะไม่ทิ้งธรรม
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ยอดกตัญญูค้ำชูชีวิต
มีฝูงแร้งกลุ่มหนึ่งจำนวนหลายพันตัว อาศัยอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งห่างจากพระนครหลายร้อยโยชน์ คอยหากินสัตว์ที่ล้มตายเป็นอาหาร ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดพญาแร้ง มีรูปร่างสง่างามเป็นพิเศษ ทำหน้าที่ปกครองฝูงแร้งให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พวกแร้งหนุ่มๆ จะบินลาดตระเวนตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อสอดส่องหาเหยื่อ เมื่อรู้ว่าที่ไหนมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ล้มตาย ก็จะบินกลับมาให้สัญญาณแก่ฝูงแร้งทั้งหมด แล้วจึงค่อยร่อนลงไปกินเหยื่อพร้อมๆกัน
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 90
เมื่อเราประสบปัญหาของชีวิต ก็ควรอยู่ในศีลในธรรม แล้วค่อยๆ แก้ไขปัญหานั้นเป็นเรื่องๆ ไป ด้วยปัญญาอันชาญฉลาด ทำได้อย่างนี้ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ ส่วนมโหสถบัณฑิตเมื่อได้ยศศักดิ์ยิ่งใหญ่แล้ว จะใช้ยศศักดิ์นั้นอย่างไร โปรดติดตาม
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 89
มารดาถูกลูกในไส้เถียงเข้าอย่างนั้น ก็โกรธเคือง ด่าว่า “หนอยแน่ะ เจ้าลูกบังเกิดเกล้า เอ็งมาหลอกกินขนมข้า แล้วก็ไม่ไป” หนูน้อยเห็นเป็นเรื่องขบขันที่หลอกมารดาของตัวได้ จึงแกล้งยกมือบ้าง ทำปากแบะแสยะยิ้มบ้างเพื่อล้อมารดา แล้วก็วิ่งหนีตะเลิดไปเสีย
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ผู้สะอาดด้วยความดี
ความเป็นผู้สะอาดด้วยความดีในจิตใจนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “คนดีย่อมไปหาคนดี คบกับคนดี” ครั้ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน ได้ปรารภถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นับตั้งแต่ท่านดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล ท่านมีศีล ๕ เป็นปกติ ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว แม้ภรรยา บุตรธิดา บ่าวรับใช้ทั้งหมดของท่าน ต่างพากันรักษาศีล ๕ ไม่ขาดเช่นเดียวกัน
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - โคนันทวิสาล
จะเห็นได้ว่า การกล่าววาจาทุพภาษิต เช่น คำหยาบ คำด่านั้น ไม่ดีเลย เหมือนที่พราหมณ์พูดกับโคนันทิวิสาล ในการเดิมพันครั้งแรก ทำให้ต้องเสียทรัพย์แก่เศรษฐีและอับอายขายหน้า แต่ครั้นพราหมณ์กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู และเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ก็สามารถกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาได้ และยังได้ทรัพย์สินอีกมากมาย เพราะคำพูดที่ไพเราะนั้นมีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มีไมตรีจิตต่อกัน
ข้าแต่พญาหงส์ ในยามผลดกนกทั้งหลายก็ชุม แต่พอผลวายนกทั้งหลายก็ไปไม่เหลียวแล ตอนมีผลประโยชน์ใครๆ ก็เห็นคุณค่า แต่ตอนที่หมดประโยชน์ ใครบ้างเล่าจะนึกถึงผู้มีอุปการคุณ เราจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งญาติของเรา เราต้องการเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ขอเพียงได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับต้นไม้ที่มีพระคุณกับเราเท่านั้น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มิตรแท้แม้ชีวิตก็ให้ได้
สุมุขหงส์ตอบด้วยเสียงไพเราะว่า "พญาหงส์ตัวนี้ เป็นราชาของเรา ทั้งยังเป็นมิตรที่เสมอด้วยชีวิต ฉะนั้นจะให้เราทิ้งไปได้อย่างไร" สุมุขหงส์ตอบด้วยเสียงไพเราะว่า "พญาหงส์ตัวนี้ เป็นราชาของเรา ทั้งยังเป็นมิตรที่เสมอด้วยชีวิต ฉะนั้นจะให้เราทิ้งไปได้อย่างไร"