เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
สีลวนาคชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก
อาจารย์นักกระโดดข้ามหอกผู้ดื้อรั้น ผู้ไม่ยอมรับฟังคำเตือนของใคร แม้แต่ศิษย์ที่รักและหวังดีต่อเขา และด้วยความอวดดี ดื้อดึงของเขา เลยทำให้เขาพบจุดจบลงอย่างน่าอนาถ
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ
คิริทัตตชาดก-ชาดกว่าด้วยการเอาอย่าง
สมัยนั้นมีสหายสองคนเป็นชาวเมืองราชคฤห์ สองสหายนั้นคนหนึ่งบวชในสำนักพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันเสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่บวชในสำนักพระศาสดาเมื่อบวชแล้วต้องปฏิบัติกิจสงฆ์อยู่เป็นนิจ ต่างจากสหายที่บวชในสำนักพระเทวทัตที่ไม่มีกิจใดที่พึงต้องทำ
อสาตมนต์ชาดก-ชาดกว่าด้วยมนต์มายาหญิง
ณ พระเชตะวันมหาวิหารกาลนั้น มีภิกษุสงฆ์ผู้ตกทุกข์ด้วยเหตุจากอิสตรีเข้ากวนกิเลสมิให้ดื่มด่ำธรรมรสได้ดุจเดิม กิเลสจากหญิงนั้นทำให้บุตรแห่งพระสมณโคดมรูปหนึ่ง มิเป็นอันบำเพ็ญภาวนา
มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง
สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่ ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
นันทชาดก-ชาดกว่าด้วยความมานะถือตัว
เมื่อฤดูฝนอย่างกรายมาถึงพระภิกษุทั้งหลายก็อยู่จำพรรษาตามพุทธบัญญัติ มิได้ออกเที่ยวจาริกที่ใดๆได้ตามปกติเป็นเวลานาน 3 เดือน ครั้นวสันตฤดูผ่านพ้นภิกษุในพระเชตะวันมหาวิหารก็พร้อมที่จะเดินทางออกไปเผยแผ่พุทธธรรมดังที่เคยกระทำต่อเนื่องกันมาอีกครั้ง
วลาหกัสสชาดก ชาดกว่าด้วยความสวัสดี
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้ใดไม่ทำตามคำสั่งสอน ที่เราตถาคต แสดงไว้ดีแล้ว ผู้นั้นย่อมจะต้องถึงความพินาศ ย่อมถึงความทุกข์ใหญ่ในอบาย ๔ (คือได้นรก ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย) เปรียบเสมือนพวกพ่อค้า ที่ถูกนางยักษิณี หลอกลวงให้ตกอยู่ในอำนาจ ต้องสิ้นชีวิตไป ฉะนั้น
จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ
ในสมัยพุทธกาลขณะที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอดส่องพระพุทธญาณ ณ วัดชีวกัมพวัณ กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ดังที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ พลันสายพระเนตรทรงเห็นภิกษุหนุ่มจุลลปัณฐกะที่ท้อถอยสิ้นความเพียร เนื่องด้วยมีสติปัญญาทึบ