ครหิตชาดก ชาดกว่าด้วยลิงติเตียนมนุษย์
วานรทั้งฝูงเมื่อได้รู้ถึงพฤติกรรมของมนุษย์เช่นนั้นก็พากันติเตียน บ้างก็ชำระล้างหูของตน แล้วร่วมใจกันย้ายถิ่นฐานให้ไกลจากมนุษย์ เข้าไปในป่าลึกสุดๆ ของหิมพานต์
สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์
สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย “ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ย มันตายไปแล้ว ” “ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
กาฬกัณณิชาดก ชาดกว่าด้วยมิตร
“พวกเธอจงเชื่อเถิด ขึ้นชื่อว่ามิตร ย่อมเกื้อกูลต่อกันเสมอ แม้มิตรนั้นจะตกต่ำในฐานะ แต่เมื่อจิตใจร่ำรวยดังนี้ มิตรอย่างเราก็ต้องอนุเคราะห์ให้ทรัพย์เป็นทุนกับเขายิ่งๆ ขึ้นไป”
โรมชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์
ในพุทธกาลสมัยนั้น มีเรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้น และมีผลกรรมเกี่ยวต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาต่างกรรมต่างวาระกัน การแตกแยกของหมู่สงฆ์อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นในแคว้นมคธ ซึ่งนับเป็นกรรม เป็นวิบากกรรมของพระเทวทัตที่ตามจองเวรต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ
มีลูกสุนัขตัวหนึ่งพลัดหลงกับแม่ จากนั้นมันก็เดินหลงเข้าไปในโรงช้าง จากนั้นก็ได้อาศัยอยู่กินในโรงช้างจนเป็นที่รักใคร่สนิทสนมกับช้างต้นจนมีชายคนหนึ่งมารับลูกสุนัขไปเลี้ยงจึงทำให้ช้างต้นและลูกสุนัขมีอาการซึมเศร้าเพราะคิดถึงกันและกัน
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
รุหกชาดก ชาดกว่าด้วยรุหกะปุโรหิต
ปุโรหิตได้นำเอาเครื่องม้าต้นมาสวมใส่ร่างกายของตนเองตามคำยุยงของภรรยา ผู้คนต่างพากันขบขัน แต่ก็แสร้งชมด้วยความเกรงใจ ปุโรหิตปลาบปลื้มกับคำชื่นชมนั้นได้ไม่เท่าไหร่ เมื่อเดินผ่านพระพักตร์พระเจ้าพาราณสี ความเป็นจริงก็ปรากฏให้รู้