สำรวมจิตเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ที่ละเอียดอ่อน มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เพราะว่าจิตที่คุ้มครองดีแล้ว นำสุขมาให้
เส้นทางจอมปราชญ์ (๔)
การได้ฟังพระสัทธรรมนั้นเป็นการยาก
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ผู้ประมาทในวัย
รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้าง เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า ความไม่ประมาท เลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑
พญาราชสีห์ได้เหยื่อและกลับมายังถ้ำ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ภายในถ้ำ จึงคิดว่า "ในป่าแห่งนี้ ไม่มีสัตว์อื่นที่มีความสามารถจะมานั่งกลางอากาศในที่อยู่ของเราได้ บุรุษนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงหนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำของเรา และมีรัศมีกายสว่างไสวแผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ สงสัยบุรุษนี้คงเป็นยอดมหาบุรุษของโลก"
กิสาโคตมีเถรี
มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูก และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่ พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับใหลไปฉะนั้น
อัครสาวก ซ้าย-ขวา
ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร
วิสาขามหาอุบาสิกา (สร้างบุพพาราม)
นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จากกองดอกไม้แม้ฉันใด มัจจุสัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - โคนันทวิสาล
จะเห็นได้ว่า การกล่าววาจาทุพภาษิต เช่น คำหยาบ คำด่านั้น ไม่ดีเลย เหมือนที่พราหมณ์พูดกับโคนันทิวิสาล ในการเดิมพันครั้งแรก ทำให้ต้องเสียทรัพย์แก่เศรษฐีและอับอายขายหน้า แต่ครั้นพราหมณ์กล่าวถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู และเสริมสร้างกำลังใจให้แก่กัน ก็สามารถกู้ชื่อเสียงกลับคืนมาได้ และยังได้ทรัพย์สินอีกมากมาย เพราะคำพูดที่ไพเราะนั้นมีฤทธิ์ มีอานุภาพ
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ๓๐ ปีที่รอคอย
"ท่านอาจารย์ผู้ว่างเปล่า อย่าทำตนเป็นผู้ไม่ว่างอยู่เลย ท่านไม่รู้ตัวหรือว่าขณะนี้ท่านเป็นผู้ที่ประมาทแล้ว ตัวของท่านเป็นเสมือนแผ่นกระดานสำหรับให้คนทั้งหลายเดินข้ามไป ท่านเป็นที่พึ่งให้แก่คนอื่นก็จริงอยู่ แต่ท่านไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้ แล้วจะมีประโยชน์อะไร..."