ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร
ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการ กำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความ อดทน และใช้ความเพียรสูง กว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ บรรลุธรรมง่ายขึ้น
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ผู้ประมาทในวัย
รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้าง เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า ความไม่ประมาท เลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย
เราจะได้อะไรจากการสวดมนต์อย่างถูกหลักวิชชา
การสวดมนต์สรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยอย่างถูกหลักวิชชานั้น เราต้องเปล่งเสียงสวดมนต์ออกมาจากแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ภายใน โดยการหลับตา...
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑ ( ศุภนิมิต )
เรื่องมโหสถบัณฑิตแห่งมิถิลานครนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาว แต่มีเนื้อหาสาระที่น่ารู้น่าศึกษามาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ปัญญา และปฏิภาณอันเฉียบแหลมของพระบรมโพธิสัตว์ แม้บางครั้งจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ขนาดเอาชีวิตเกือบไม่รอด แต่ท่านก็ยังมีจิตใจมั่นคง ใช้สติปัญญาเปลี่ยนวิกฤติมาเป็นโอกาส จนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๖ ( ผู้ผดุงความยุติธรรม )
หนุ่มชาวนาตื่นขึ้นมาไม่เจอโคของตน ก็รีบวิ่งออกติดตามรอยเท้าโคไป เมื่อตามไปพบก็ร้องบอกโจรให้นำโคคืนมา ตนจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เหตุการณ์กลับตรงข้าม เพราะโจรอ้างว่าโคนี้เป็นของเขา เมื่อไม่ยอมกันทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาท ชาวบ้านจึงพามาหามโหสถให้ช่วยตัดสินว่า ใครเป็นเจ้าของโคตัวนี้กันแน่
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๓ )
เศรษฐีนี้เข้าไปตัดทานวงศ์ของเรา เมื่อละโลกจักต้องไปเกิดในนรกโดยไม่ต้องสงสัย เราจะต้องลงไปปราบความเห็นผิด และทำเขาให้เป็นผู้ดำรงวงศ์ทาน ซึ่งเป็นอริยประเพณีอันดีงามของเราให้สืบต่อยาวนานที่สุด
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล - คนพาลไม่ต้องการเหตุผล
หากเรารู้ว่า ใครเป็นคนพาล เราควรรีบหลีกหนีให้ห่างไกล เพราะยิ่งอยู่ร่วมกันนาน จะยิ่งติดเชื้อพาล ซึ่งมีแต่จะนำความวิบัติความเสื่อมเสียมาให้ เหมือนดังเรื่องของแม่แพะ ที่พูดจาอ่อนหวาน แต่ในที่สุดก็ต้องถูกเสือจับกินเป็นอาหาร เรื่องมีอยู่ว่า
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 6
ธรรมดา การที่มนุษย์จะไปสู่สวรรค์ได้นั้น ก็ต่อเมื่อหลังจากที่ตายจากโลกนี้ไปแล้วเท่านั้น จึงจะไปสู่เทวโลกด้วยกายทิพย์ แต่ก็ต้องเป็นบุคคลที่ได้สั่งสมบุญเอาไว้เป็นอย่างดีแล้ว
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 19
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ แม้ฤษีผู้เป็นบิดามารดาจะได้ดวงตาคืนมา มองเห็นเป็นปกติดังเดิมแล้ว แต่พระโพธิสัตว์ก็ยังคงปฏิบัติบำรุงบิดามารดาเหมือนดังเดิม มิให้ท่านทั้งสองต้องลำบากกายลำบากใจ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ