มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ความสุขในพระรัตนตรัย
หลังจากที่ท่านปลงผมเสร็จ กำลังจะผลัดผ้าสาฎกออก เพื่อเปลี่ยนมานุ่งห่มชุดของนักบวช ในจังหวะนั้นท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาพระบรมศาสดาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณสี่
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - ปล่อยวางหมด ก็หมดทุกข์
ชายหนุ่มเจ้าชู้คนหนึ่งได้แลเห็นพระเถรี ผู้กำลังเดินผ่านไปยังชีวกัมพวันวิหารอันน่ารื่นรมย์ ได้ถูกกามราคะครอบงำ คือ มีจิตปฏิพัทธ์ในพระเถรีขึ้นมา ได้ออกไปยืนขวางทางแล้วกล่าวคำเชื้อเชิญให้พระเถรียินดีในกามารมณ์ อนาคามีเถรีผู้ไม่มีจิตยินดีในกามารมณ์ เห็นอย่างนั้น ก็กล่าวว่า "เราทำผิดอะไร ท่านถึงมายืนขวางทางเรา ท่านเป็นคนไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรถูกต้องหญิงนักบวชเช่นเราผู้บริสุทธิ์ด้วยสิกขา ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - คำถามนำไปสู่ความหลุดพ้น
เหมือนดังเรื่องของเมตไตยยะ ซึ่งออกบวชเป็นชฎิล คือ นักบวชประเภทหนึ่งที่มีในสมัยนั้น ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ เมื่ออินทรีย์แก่กล้า บุญบันดาลให้มาพบแสงสว่าง ท่านได้พบกับยอดกัลยาณมิตร คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีโอกาสได้ทูลถามปัญหา และตั้งปัญหาถามได้ลึกซึ้ง เป็นปัญหาที่น่ารู้น่าศึกษาทั้งสิ้น
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - สละชีวิตเพื่อฟังธรรม
พระฤๅษีจึงตอบว่า ถ้าเรายังดำรงอยู่ในราชสมบัติ เราจะบูชาธรรมท่านด้วยทรัพย์สมบัติ แก้วแหวนเงินทองเป็นอันมาก และจะยกราชสมบัติทั้งหมดพร้อมด้วยเศวตฉัตรให้ท่าน แต่บัดนี้เราเป็นนักบวชเหลือแต่เพียงร่างกาย และผ้าคลุมกายนี้เท่านั้น เรามีชีวิตเลือดเนื้อเป็นสมบัติ ถ้าหากท่านปรารถนา เราจะบูชาธรรมด้วยชีวิตนี้แหละ
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน
วันนั้น กระผมตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นภาพพระภิกษุมารวมกันเป็นเรือนแสน รู้สึกได้ทันทีว่า ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาจริงๆ ชื่นชมประเทศไทยที่เป็นเมืองพุทธ ตั้งแต่กษัตริย์จนถึงบุคคลทั่วไป ต่างให้ความเคารพแก่นักบวช
พระพุทธศาสนายุคไร้พรมแดน
สมัยก่อน โลกของเราไม่มีเทคโนโลยีขั้นสูง ไม่มีคอมพิวเตอร์ ชาวพุทธอยู่แต่ในบ้านและประเทศของตน ตั้งใจประพฤติธรรมก็พอแล้ว แต่ในปัจจุบัน เราอยู่ในยุคโลกไร้พรมแดน ชาวพุทธยุคใหม่จึงต้องมีวิสัยทัศน์มองไปทั้งโลก นักบวชก็ควรเปิดใจกว้าง ไม่แบ่งแยกว่าเป็นเถรวาท มหายาน หรือวัชรยาน
ประวัติพระพุทธศาสนาในไต้หวัน
วัดฝอกวงซัน ปฐมเจ้าอาวาสวัดฝอกวงซัน คือ พระธรรมาจารย์ซิงหวิน ได้เคยเดินทางมาวัดพระธรรมกายและเซ็นสัญญาเป็นวัดพี่วัดน้องกับคุณครูไม่ใหญ่ ในวันมาฆบูชาปีพ.ศ.2537 ปัจจุบันเป็นวัดที่มีความสามารถในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้ผลดีที่สุดในไต้หวัน มีนักบวช 1,200รูป
ความสุขเหนือจินตนาการ
เพราะแม้นว่าถ้าผมเป็นมหาเศรษฐีที่รวยขนาดไหน แต่จะช่วยคนทั้งโลกนั้น คงช่วยได้ยาก เอาอะไรไปให้ก็ไม่เพียงพอ สักวันก็หมด แต่ถ้าเอาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปมอบให้เขา เราให้ได้ทั้งโลก ให้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมด ให้อริยทรัพย์ดีกว่าให้โลกียทรัพย์ งานของนักบวชจึงเป็นงานที่แท้จริงของชีวิต
วิชาศีลธรรม สะกิดใจ
เมื่อลูกเรียนวิชา ‘ศีลธรรม’ ในโรงเรียน ขณะที่ลูกกำลังอ่านหนังสือเรียน คำว่า ‘ปัตจัตตัง…รู้ได้เฉพาะตน’ คำนี้สะกิดใจลูกอย่างประหลาดในครั้งแรก และเคยเป็นนักบวชของศาสนาคริสต์ที่เคร่งครัดมาก
ชมภาพบรรยากาศสวดมนต์ข้ามปี "ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2560" ณ วัดพระธรรมกาย
ภาพสวยๆ บรรยากาศสวดมนต์ข้ามปี "ส่งท้ายปีเก่า 2559 ต้อนรับปีใหม่ 2560" ณ วัดพระธรรมกาย มีนักบวชต่างนิกายให้ความสนใจเข้าร่วมพิธีน่าปลื้มใจ..