กาฬยมุฏฐิชาดก ชาดกว่าด้วยโลภมาก
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้ากรุงโกศลแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ครั้งนั้นในช่วงฤดูฝนได้เกิดการการกบฏขึ้นทางชายแดนของแคว้นโกศล
สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์
สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย “ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ย มันตายไปแล้ว ” “ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
คูถปาณกชาดก ชาดกว่าด้วยหนอนท้าสู้กับช้าง
เจ้าช้างถ่ายคูตก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้น และถ่ายปัสสาวะรดหนอนคูต พร้อมทั้งแผดเสียงร้องอย่างสะใจ ก่อนจะเดินหายลับเข้าไปในป่าตามยถากรรม เหตุการณ์ระหว่างที่เจ้าหนอนคูตท้าสู้กับช้างนั้น เป็นที่แจ้งประจักษ์แก่เทวดาที่อยู่ในไพรสณฑ์นั้น ซึ่งเฝ้ามองดูชะตากรรมช่างน่าอนาถของเจ้าหนอนคูตที่ต้องมาตายเพราะความหยิ่งผยองลำพองตน
อัตถัสสทวารชาดก ชาดกว่าด้วยประตูแห่งประโยชน์
“ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์ คือสิ่งใดหรือครับ ผมศึกษาจากตำราแล้ว ทั้งอาจารย์สำนักอื่น ก็ไม่มีใครตอบได้เลยครับ ” “ ศิษย์เอ๋ย ปัญหานี้มันช่างยากจริงๆ แม้แต่อาจารย์คนนี้ ก็ตอบเจ้าไม่ได้เช่นกัน ”
สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
พระฤาษีได้ช่วยเหลือทุฏฐกุมารผู้มีใจโหดร้ายให้รอดพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลหลาก แต่ทุฏฐกุมารกลับโกรธแค้นที่ฤาษีดูแลและให้ความสำคัญกับชีวิตสัตว์มากกว่าตน เลยผูกใจเจ็บและได้สั่งตัดหัวพระฤาษีทันทีเมื่อได้โอกาส
ขุรปุตตชาดก ชาดกว่าด้วยการทำตนให้ไร้ประโยชน์
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเร้า แล้วทรงซักถามภิกษุนั้น “ จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ เธอกระสันอยากสึกเพราะเหตุอะไร ” “ เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าค่ะ ” “ ดูกรภิกษุหญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ ”
อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
สังขเศรษฐีได้ช่วยเหลือสหายของตนนามว่าปิลิยเศรษฐี โดยแบ่งเงินของตนให้ ๔๐ โกฎิ แล้วยังแบ่งสมบัติทั้งหลายที่ตนมี ทั้งข้าทาสบริวารให้แก่ปิลิยเศรษฐีครึ่งหนึ่งในครั้งที่เพื่อนของตนเดือดร้อน แต่ในยามที่สังขเศรษฐีลำบาก ปิลิยเศรษฐีกลับเมินเฉยไม่ยอมช่วยเหลือใดๆ
สุวรรณกักกฏชาดก ชาดกว่าด้วยปูทองผู้ฉลาด
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ เสียสละชีพของพระอานนทเถระเพื่อพระองค์ ดังนี้แล้วพระองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาทกดังต่อไปนี้...กาลครั้งหนึ่งนานพระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอาชีพกสิกรรม
มุณิกชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีอายุยืน
มุณิกชาดก เป็นเรื่องของหมูมุณิกะ ซึ่งถูกเลี้ยงดูด้วยอาหารดีเลิศและได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี และทำให้โคจุฬโลหิตเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชะตาของมันซึ่งต่างจากหมู แต่ถ้ามันรู้ความจริงว่าหมูมุณิกะถูกเลี้ยงไว้เพื่อฆ่า...มันจะทำอย่างไร มันจะช่วยหมูมุณิกะหรือไม่
กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”