มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ผลของการให้ด้วยความเคารพ
อุตตรมาณพ ผู้เป็นบ่าวของกระผม ทำทานด้วยความเคารพ ให้ด้วยมือของตนเอง ด้วยกิริยานอบน้อม เขาจึงมีวิมานสว่างไสวในดาวดึงส์ ส่วนกระผมเองผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ อุตส่าห์สละทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แต่เหตุใดกลับมาบังเกิดเพียงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อีกทั้งมีรัศมีและอานุภาพน้อยกว่าอุตตรมาณพอีกด้วย
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เศรษฐีผู้มีใจตระหนี่
คนตระหนี่กลัวความยากจนย่อมไม่ให้อะไรแก่ผู้ใด ความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาสู่คนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทินกำจัดความตระหนี่เสียแล้วให้ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เนื้อนาบุญอันเลิศ
พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติเคยประทับในพระตำหนักอัน ประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจากพระราชวังมาต่างถิ่นที่ปราศจากความเจริญ จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดีมีกับเลิศรสเช่นนี้ พระองค์รับภัตตาหารนั้นแล้วไม่เสวยเอง แต่พระราชทานแก่พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตทำไม พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตรหนี่ชีวีสดใส
เศรษฐีเห็นอิทธิฤทธิ์ของพราหมณ์ จึงถามว่าพวกท่านเป็นใคร พระอินทร์และเหล่าเทพบุตรบอกความจริงว่า พวกตนเป็นบรรพบุรุษของเศรษฐี และเหตุที่ได้เป็นเทพบุตรก็เพราะการบำเพ็ญทาน ไม่ประมาทในการกุศล และให้โอวาทเศรษฐีว่า "จงรักษาประเพณีการให้ทานต่อไป อย่าได้ตระหนี่หวงแหนทรัพย์ เพราะคนตระหนี่ย่อมตกนรก"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ไม่ควรดูหมิ่นบุญ
ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย บุคคลถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าเล็กน้อย เพราะว่าบุคคลผู้ฉลาดในการทำบุญ ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญโดยลำดับ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดฝา ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อสทิสทาน
การให้ทานจะนำเราไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ เป็นบันไดไปสู่สวรรค์นิพพาน การทำบุญด้วยเจตนาบริสุทธิ์ หวังบุญบารมีเป็นที่ตั้งนั้น จะได้รับอานิสงส์อย่างที่เราคาดไม่ถึง ยิ่งทำถูกเนื้อนาบุญ ผลบุญนั้นก็จะเป็น มหัคคตกุศล ไม่อาจที่จะนับคำนวนบุญที่เกิดขึ้นได้ ว่ามีประมาณเท่าใด การที่เรามีโอกาสทำบุญกับพระภิกษุสามเณร ๑๐๐,๐๐๐ รูป ในเวลาเดียวกันนี้ เป็นความอัศจรรย์ของโลก
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้บ่อยๆ รวยบ่อยๆ
ยาจกยังต้องขอบ่อยๆ ถ้าไม่ขอก็อด คำว่ายาจกคือคนขอทาน จะแตกต่างจากคำว่า สมณะ ซึ่งเป็นการขอแบบอริยะ ที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ให้ทาน บุคคลสองประเภทนี้มีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน คุณธรรมก็ต่างกันเหมือน ก้อนกรวดเทียบกับภูเขา พวกยาจกจะขอด้วยการแสดงอาการอัน น่าสงสาร
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์
แผ่นดินที่ ๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีถือเป็นยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก เนื่องด้วยทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนาทรงรักษาศีล บำเพ็ญทาน บำรุงคณะสงฆ์ สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามไว้เป็นจำนวนมาก
อานิสงส์ของการถวายธง
กรรมที่เรากระทำเมื่อแสนกัปที่แล้ว ให้ผลแก่เราในที่นี้ เราได้เผากิเลสของเราแล้ว ดุจกำลังลูกศรพ้นจากแล่งไป ในแสนกัปแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดไว้ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง
ขทิรังคารชาดกว่าด้วยเป็นผู้มีจิตใจมั่นคง
ขทิรังคารชาดก เรื่องราวของเศรษฐีหนุ่มแห่งกรุงสาวัตถีผู้มีใจรักในการทำบุญสร้างทานบารมี เขาโดนขัดขวางการสร้างมหาทานบารมีครั้งใหญ่ในชีวิตโดยพญามาร แต่เขากลับเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสร้างมหาทานครั้งนี้...มาติดตามกันว่า..เขาทำได้หรือไม่?