เราคือ..ผู้ออกแบบชีวิต
การที่เรามองโลกด้วยมุมมองแตกต่างกัน เป็นเพราะเราเกิดมาแตกต่างกัน ได้สัมผัสโลกในแง่มุมที่ต่างกัน และมีประสบการณ์ในโลกนี้ต่างกัน ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาระบุว่า “กรรม”เป็นตัวกำหนดความแตกต่างเหล่านี้
แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรมพระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล
ธรรมะเพื่อประชาชนมงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑
พญาราชสีห์ได้เหยื่อและกลับมายังถ้ำ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ภายในถ้ำ จึงคิดว่า "ในป่าแห่งนี้ ไม่มีสัตว์อื่นที่มีความสามารถจะมานั่งกลางอากาศในที่อยู่ของเราได้ บุรุษนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงหนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำของเรา และมีรัศมีกายสว่างไสวแผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ สงสัยบุรุษนี้คงเป็นยอดมหาบุรุษของโลก"
ธรรมะเพื่อประชาชนความสุขของพระโสดาบัน
ความทุกข์ที่หมดไปของอริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาทิฏฐิ บรรลุอริยมรรคแล้ว มีปริมาณมาก ส่วนความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย ความทุกข์ที่จะมีอีก ๗ อัตภาพเป็นอย่างยิ่งนั้น เมื่อเทียบกันเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีอยู่ในครั้งก่อนแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ เลย ภิกษุทั้งหลาย การได้บรรลุอริยธรรม ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุ ย่อมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้
ธรรมะเพื่อประชาชนอยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ธรรมะเพื่อประชาชน