ศาสดาเอกของโลก (4)
สติของชนเหล่าใดไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ ตื่นดีแล้วในกาลทุกเมื่อ...
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 191
การกลับมาสู่ปัญจาลนครของมโหสถในครั้งนี้ สร้างความไม่พอพระทัยให้กับพระนางนันทาเทวีเป็นอันมาก เพราะตอนที่พระนางเคยถูกคนของมโหสถจับกุมตัวไปยังมิถิลานคร แม้จะล่วงเลยมานานกว่าสิบปีแล้ว แต่ภาพเหล่านั้นก็ยังฉายชัดอยู่ในพระหทัย พระนางจึงทรงผูกพระทัยเจ็บฝังแน่นในพระหทัยตลอดมา ทรงหาโอกาสที่จะทำลายมโหสถเสียให้ได้
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - เผชิญหน้าพญามัจจุราช
พระเถระได้อนุโมทนาในกุศลจิตของพระกุมาร แต่เมื่อตรวจดูอายุสังขารของพระกุมารแล้ว ได้บอกว่า พระกุมารจะมีชีวิตอยู่เพียง ๕เดือนเท่านั้น แม้ได้ทราบความนั้น พระราชกุมารก็ไม่ท้อใจ เพราะเข้าใจดีว่า คงเป็นกรรมในอดีตตามมาส่งผล ก็ไม่ได้หวาดหวั่นพรั่นพรึงอะไร จึงถามพระเถระถึงวิธีการที่จะหลุดพ้นจากความตาย
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 129
มโหสถบัณฑิตจึงตอบพราหมณ์เกวัฏว่า “ท่านเกวัฏ ข้าพเจ้าน่ะ...ยังคิดถึงท่านอยู่เสมอ แต่เพราะยังหาสิ่งที่คู่ควรแก่ท่านยังไม่ได้ จึงต้องเสียเวลาเฟ้นหาของที่สมควรแก่ท่านอยู่นาน เหตุนี้จึงยังไม่ได้โอกาสมาหาท่านเสียที แต่วันนี้ข้าพเจ้าหาเครื่องบรรณาการที่สมควรได้แล้ว บัดนี้จึงถือโอกาสนำบรรณาการที่สูงค่านี้มามอบให้ท่าน”
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ลูกน้อยโพธิ์สัตว์
มีครอบครัวหนึ่ง มีลูกชายคนเดียวชื่อ สวิฏฐกะ ได้บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดาอย่างดี เมื่อมารดาละจากโลกนี้ไป เขาก็ปรนนิบัติดูแลบิดาด้วยดีเสมอมา บิดาสงสารเขา อยากจะหาคนมาช่วยทำงานบ้าน จึงให้เขาแต่งงานกับหญิงคนหนึ่ง
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ทางมาแห่งปัญญาบารมี
จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า ขนาด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาเอกของโลก ก็ยังทรงเคารพพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพราะความเคารพในธรรมเป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อม ในพระไตรปิฎกมีหลายสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องความเคารพไว้ ทรงสั่งสอนทั้งแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา และเหล่าเทวดา ไม่ว่าจะเป็นการเคารพในพระศาสดา เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในสมาธิ เคารพในความไม่ประมาท และเคารพในการปฏิสันถาร
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - การให้ที่มีผลมาก (๒)
"ดูก่อนคฤหบดี เวลามพราหมณ์ ก็คือเราตถาคตนี่แหละ เราแม้เมื่อให้ทานมากมายเห็นปานนั้น ก็ไม่ได้มีบุคคลผู้สมควรจะมารับทักษิณาทานของเรา แม้เพียงคนเดียว ถึงกระนั้นก็ส่งผลให้ได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลายาวนาน ส่วนท่านได้ให้ทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นับว่าได้โอกาสอันเลิศแล้ว เพราะฉะนั้น จงยินดีในการให้ทานต่อไปเถิด"
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๔)
มาถึงตอนนี้พระโพธิสัตว์ได้ตัดสินคดีความเละตรัสตอบคำถามที่นายคามณิจันท์รับปาก เขามาถามทั้งหมดไม่่ว่าจะเป็นเรื่องของพราหมณ์มาณพกลุ่มหนึ่งที่เรียนมนต์ได้ไม่ดี เรื่องที่น้ำในสระของพญานาคขุ่น เรื่องของนกกระทาที่ไม่ยอมไปจากจอมปลวก เรื่องของเนื้อที่ชอบกินหญ้าใต้ต้นไม้นั้น เรื่องของงู และเรื่องอื่นๆ พระโพธิืสัตว์จะทรงตัดสินคดีความและตอบคำถามเช่นไรนั้น
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - พระปัญญาบริสุทธิ์
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ต้องดำรงตนเป็นทูตสันติภาพได้ด้วย นอกจากจะมีปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมแล้ว ต้องไม่มีอคติความลำเอียง และต้องรู้จักแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง คอยประสานรอยร้าวเหมือนเป็นกาวใจ