มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ขันติและเมตตาพาสู่ดุสิตบุรี
พระราชาเห็นพระนางแสดงความรักต่อพระกุมารมากถึงเพียงนั้น ก็ยิ่งอิจฉา และโกรธเคืองยิ่งขึ้น จึงตรัสว่า “ท่านอย่าชักช้า จงตัดมือตัดเท้าทั้งสองเสีย” เพชฌฆาตก็สับมือตัดเท้าทั้งสองของพระกุมารด้วยขวานอันคมกริบ ธรรมบาลกุมารแม้จะถูกตัดมือตัดเท้าก็ไม่ร้องไห้ ทรงอดกลั้นต่อทุกขเวทนา ด้วยขันติธรรมและเมตตาธรรม
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๑)
เรื่องราวชีวิตในสังสารวัฏนั้น มีเรื่องแปลกๆ มากมาย ที่เป็นคำถามให้สงสัย รอคอยผู้มีบุญมาเฉลยคำตอบ ชีวิตของบุคคลที่เกิดมา ล้วนมีฉากหลังกำกับ นั่นคือบุญและบาป ขึ้นอยู่กับสิ่งใดจะมีกำลังส่งผลมากกว่ากัน คนที่ได้รับผลบุญพิเศษนั้น จะต้องสร้างบุญไว้มากๆ ไม่ใช่ว่าจะได้มาอย่างง่ายๆ ถ้าอยากกำหนดชีวิตของเราให้เป็นไปในทิศทางใด
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๒ )
ด้วยอานุภาพบุญของพระโอรสที่อยู่ในพระครรภ์ เมื่อข้าวกล้าออกรวง ปรากฏว่า ข้าวแต่ละต้นจะแตกงอกออกเป็นร้อยเป็นพันเมล็ด และเมื่อหว่านพันธุ์ข้าวลงในนา ๑ ไร่ จะได้ข้าว ถึง ๕๐ - ๖๐ เกวียน ขณะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ชาวเมืองต่างขอให้พระนางสุปปวาสาจับที่ประตูของยุ้งฉาง แม้ข้าวในยุ้งฉางจะถูกขนออกไปเท่าไร แต่ก็ไม่รู้จักหมดสิ้น
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 21
กุมาริกาได้กล่าวเตือนพระสติพระมหาสัตว์ต่อไปว่า “ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมไม่พาสตรีเที่ยวไป แต่ทำไมท่านจึงพาภรรยาซึ่งมีรูปงามดุจเทพอัปสรเที่ยวไปด้วยเล่า ภรรยาจะทำให้สมณธรรมของท่านมัวหมอง ท่านจงยินดีในการอยู่คนเดียวเถิด”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 20
“ใครหนอเป็นผู้แนะนำธรรมะสั่งสอนพระองค์ ถ้อยคำอันสะอาดนี้ เป็นถ้อยคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะข้าพระองค์มิเคยเห็นพระองค์ได้ตรัสกับสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วง ทุกข์ ซึ่งแนะนำหนทางสู่ความหลุดพ้นแก่พระองค์เลย”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 15
สิ่งที่ได้ยากที่สุดกลับเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสได้ด้วยใจ นั่นก็คือความสุขที่แท้จริงที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง เป็นสิ่งที่ชาวโลกมักมองข้ามกัน เพราะมัวเอาใจไปติดอยู่กับสิ่งของนอกตัวซึ่งเป็นเครื่องล่อให้ติดอยู่ในภพ ทั้งสาม
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 14
“มะม่วงอีกต้นยังคงความสดเขียวเหมือนเดิม ไม่มีใครมารุกราน เพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหักกิ่งรานใบ เพราะอาศัยผลเป็นเหตุ แม้ราชสมบัตินี้ก็เช่นกับต้นไม้มีผล ส่วนบรรพชาเป็นเช่นกับต้นไม้ที่ไร้ผล ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของใคร ภัยย่อมมีแก่ผู้มีความกังวล แต่ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล ตัวเรานี่แหละ จะเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไร้ผล เราจักสละราชสมบัติออกบวช”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 9
พระราชธิดาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้นมาเพื่อราชสมบัติ จึงมีพระประสงค์จะทดสอบเสนาบดีว่า จะมีปัญญาพอที่จะรองรับสิริแห่งเศวตฉัตรได้หรือไม่ จึงรับสั่งให้ท่านเสนาบดีเข้าเฝ้า
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 1
วันนี้ เราจะได้มาศึกษาประวัติการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ในอีกพระชาติหนึ่ง คือ พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี คือ อุปนิสัยอันเต็มเปี่ยมด้วยความเพียร อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน หากจะถามว่า ทำไมจึงต้องทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์เช่นนั้น อย่างเช่น ในเรื่องพระเตมีย์ที่ผ่านมา แม้จะถูกทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ ทำอย่างไรพระองค์ก็ยังทรงนิ่งเฉย