อิทธิบาท ๔ : มรดกธรรมของหลวงปู่วัดปากน้ำ
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่า อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวลแปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น
พระพุทธคุณ ตอน พระคุ้มครอง
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อถูกภัยคุกคามย่อมยึดเอาภูเขาป่าไม้ว่าเป็นที่พึ่ง แต่ที่พึ่งนั้นไม่เกษม ไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษม เป็นที่พึ่งอันอุดม เมื่อบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
พระพุทธคุณ ตอน ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ คือ ทรงเป็นบรมครูของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะตั้งแต่แรกที่ทรงสร้างบารมี พระองค์ทรงมีมหากรุณาธิคุณ ตั้งความปรารถนาที่จะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปสู่พระนิพพาน
พระพุทธคุณ ตอน ผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นที่พึ่ง ไม่ทรงเกี่ยวข้องกับกิเลสใด และไม่ทรงประกอบด้วยโทษใด ชื่อว่าทรงไกลจากกิเลส และโทษนั้น เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏพระนามว่า อรหํ
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งโลก
บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุราชได้แล้ว ได้ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นการเกิด บุคคลเช่นนั้นย่อมเป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง
พระพุทธคุณ ตอน พระผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระสุคต มาจากศัพท์บาลี คือ สุคโต แปลว่า เสด็จไปดี เสด็จไปงาม คือ พระองค์ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่ อริยมรรค และได้เสด็จไปสู่ที่ดีงาม คือ พระนิพพาน โดยทรงดำเนินรุดหน้าไป ไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว
พระพุทธคุณ ตอน สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ไร้ที่พึ่ง ทรงประทานความไม่มีภัยแก่เหล่าชนผู้มีความกลัว ทรงเป็นที่คุ้นเคยของผู้มีภูมิธรรมสงบ ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง
เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึง อ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเรา ก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับ ทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๒๑)
ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แล้วว่า พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตั้งใจศึกษาความรู้ในพระพุทธศาสนา..
คําบูชาพระรัตนตรัย
คําบูชาพระรัตนตรัย พร้อมคําแปล คําบูชาพระรัตนตรัยโดยพิสดาร คำนมัสการพระรัตนตรัย บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ