พระอรหันต์มีจริง
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว มีใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากความอาลัยทั้งปวง พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุพระอรหันต์แล้ว เข้าถึงพระนิพพาน เสวยสุขอยู่ รัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
ธรรมะเพื่อประชาชนต้นแบบแห่งความดี
บุคคลพึงเห็นโทษในการปฏิบัติผิดทาง ควรศึกษาไตรสิกขา เพื่อละความดำริผิด ควรศึกษาวิเวก และประพฤติวิเวกอันเป็นกิจของพระอริยเจ้า บุคคลผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้งหลาย ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้โดยยาก
ธรรมะเพื่อประชาชนพระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
ธรรมะเพื่อประชาชนพระวนวัจฉะผู้อยู่ในป่า
ความเสวยอารมณ์เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เช่นเป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี เมื่อเบื่อหน่ายในความเสวยอารมณ์นั้น ย่อมคลายความกำหนัด เมื่อคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พระอริยสาวกย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจอื่นที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป
ธรรมะเพื่อประชาชนผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา
ผู้ใดมีความเชื่อในพระตถาคต ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์
ธรรมะเพื่อประชาชนคนมักโกรธย่อมไม่เป็นที่รัก
บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ธรรมะเพื่อประชาชนเป็นเทพก็ต้องทำบุญ
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ตรัสแล้ว โดยวิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลาย พึงกำจัดความตระหนี่ที่เป็นมลทิน มีใจผ่องใส พึงให้ทาน ทานที่ให้แล้วจะมีผลมากในพระอริยบุคคลทั้งหลายตามกาลสมควร ทายกเป็นอันมาก ครั้นให้ทักษิณาทาน ในทักขิไณยบุคคลทั้งหลายแล้ว ละจากความเป็นมนุษย์นี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ทายกผู้ไม่มีความตระหนี่เหล่านั้น ครั้นไปสู่สวรรค์แล้ว ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์เสวยผลแห่งกุศลกรรมของตัวเอง
ธรรมะเพื่อประชาชนวิธีการดำเนินชีวิตแบบอริยะ
นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลอันเลิศแล้ว ได้ทำพลีกรรม ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยเจ้า
ธรรมะเพื่อประชาชนทำไมถึงพลาดสิ่งที่อยากได้
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่ได้รับการศึกษา ไม่เห็นอริยเจ้า ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า เมื่อเขาไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ,ไม่ควรเสพ,ควรคบ,ไม่ควรคบ,เพราะเหตุ เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎกภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
ธรรมะเพื่อประชาชน