สัตติคุมพะชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องการคบหาคนพาล
สารัตถะแห่งพระพุทธศาสนาข้อสำคัญที่ประจักษ์แจ้งทั่วกันอย่างหนึ่งก็คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืนของสรรพสิ่ง ในแผ่นดินมคธซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปักธงชัยประกาศศาสนาไว้ ก็ไม่พ้นจากความจริงจากข้อนี้ได้ เมื่อสิ้นอำนาจพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำปิตุฆาตขึ้นครองมคธตามคำยุยงของพระเทวทัต
มโนชชาดก-ชาดกว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขที่ยั่งยืน
สมัยนั้นมีสหายสองคนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันและกันอยู่เสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่ออกบวชในสำนักพระศาสดาต้องปฏิบัติกิจสงฆ์ออกบิณฑบาต ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ ส่วนภิกษุที่บวชในสำนักของพระเทวทัตนั้นไม่ต้องออกไปบิณฑบาต เพราะจะมีคนจัดสำรับไว้ให้ในโรงฉันเรียบร้อย
จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี
ครั้งเมื่อพระพุทธศาสดาเสด็จสู่แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวาและสังฆสาวกทั้งมวล พุทธกาลครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นครหลวงของแคว้นสักกะ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา
กุรุงคมิคชาดกว่าด้วยการร่วมด้วยช่วยกัน
กุรุงคมิคชาดก เป็นเรื่องของสัตว์ 3 ตัว คือ เต่า นกสตปัตตะ กวาง สัตว์ทั้งสามตัวเป็นเพื่อนรักกัน และเหตุที่ทุกตัวไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เจ้ากวางถูกกับดักติดบ่วงของนายพราน เพื่อนรักอย่างเจ้านกและเจ้าเต่าจะมีวิธการช่วยเหลือเพื่อนกวางได้หรือไม่? อย่างไร?.....
ตโยธัมมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ธรรม 3 ประการ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะปลอบใจพระภิกษุทั้งหลาย ให้คลายความวิตกกังวลห่วงใยในพระองค์ และเลิกใส่ใจในการกระทำของพระเทวทัต เพราะพระเทวทัตมิได้ตามจองล้างจองผลาญพระองค์ เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนๆ ก็ได้พยายามทำร้ายพระองค์มาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เคยทำได้สำเร็จเลยสักครั้ง
มาตุโปสกชาดก-ชาดกว่าด้วยพญาช้างยอดกตัญญู
ในสมัยหนึ่งครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตะวันเมืองสาวัตถี ได้เกิดเรื่องราวถกเถียงกันในหมู่สงฆ์ ถึงเรื่องวินัยสงฆ์ของภิกษุผู้เลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ภิกษุที่ว่านี้เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ เพราะต้องคอยมาปรนนิบัติผู้เป็นมารดาที่อาศัยอยู่ในบ้านตามลำพัง
สุวรรณกักกฏชาดก ชาดกว่าด้วยปูทองผู้ฉลาด
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ เสียสละชีพของพระอานนทเถระเพื่อพระองค์ ดังนี้แล้วพระองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาทกดังต่อไปนี้...กาลครั้งหนึ่งนานพระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอาชีพกสิกรรม
อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท
อีกาตัวหนึ่งเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังกินซากโคอย่างเอร็ดอร่อย มันจึงแกล้งพูดยกย่องเจ้าจิ้งจอกเพื่อจะได้กินซากโคนั้นบ้าง “ ท่านพญาจิ้งจอกผู้มีร่างกายล่ำสัน องอาจดั่งพญาราชสีห์ ข้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ขอให้ข้าได้กินเนื้อนั่นบ้างเถิด ” ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้ยินกากล่าวยกย่องตนดังนั้นก็ชื่นใจ แล้วจึงกล่าวตอบด้วยการยกย่องกาเช่นกัน “ กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่น ดั่งเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด ”
วิโรจนชาดก ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว
พระเทวทัตเถระมีญาณเสื่อมบังเกิดอิจฉาริษยาในบารมีของพระพุทธองค์และบังอาจตั้งกฎขึ้นปกครองสงฆ์ขึ้นแข่งขัน แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตนำมาปฏิบัติ พระเทวทัตซึ่งถือตนว่าเป็นพระญาติและมีทุกสิ่งทัดเทียมเช่นกันกับพระพุทธเจ้าเมื่อถูกขัดใจก็ขุ่นเคืองจึงวางแผนแยกคณะสงฆ์ออกจากพระศาสดา และได้ทำการชักชวนภิกษุบวชใหม่ในสำนักของพระโมคคัลลาและสำนักพระสารีบุตรจำนวน ๕๐๐ รูปให้ติดตามไปตั้งคณะสงฆ์ใหม่
สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
พระฤาษีได้ช่วยเหลือทุฏฐกุมารผู้มีใจโหดร้ายให้รอดพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลหลาก แต่ทุฏฐกุมารกลับโกรธแค้นที่ฤาษีดูแลและให้ความสำคัญกับชีวิตสัตว์มากกว่าตน เลยผูกใจเจ็บและได้สั่งตัดหัวพระฤาษีทันทีเมื่อได้โอกาส