ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 12
มโหสถเห็นอาการเศร้าซึมของนาง ก็ทราบว่า นางคงรู้สำนึกขึ้นมาแล้ว จึงได้ให้โอวาทต่อไปว่า “ต่อแต่นี้ไป เจ้าจงสมาทานเบญจศีลเถิดนะ แล้วพึงตั้งใจรักษาให้บริสุทธิ์ไปจนตลอดชีวิต ขอให้เจ้าพึงสำเหนียกไว้ในใจเสมอว่า เราจักเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไปจนกว่าชีวิตจะหา ไม่ เจ้าจะทำได้ไหมล่ะ”
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๑)
การที่ ข้าพเจ้ามีความประมาท ประพฤติอกุศลธรรม ประกอบทุจริตกรรม ก็เพราะข้าพเจ้ามีความต้องการจะได้ทรัพย์มาบำรุงเลี้ยงบิดามารดา เลี้ยงดูบุตรภรรยา ต้องสงเคราะห์ ให้แก่ญาติสายโลหิต ต้องทำบุญส่งไปให้แก่บุรพเปตชน ต้องบวงสรวงแก่เทวดา ต้องทำกิจให้แก่องค์พระราชาธิบดี ฉะนั้น ขอท่านนายนิรยบาล ได้โปรดเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
เวมานิกเปรตผู้โดดเดี่ยว
เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอดีตหญิงโสเภณีคนหนึ่งที่ประพฤติผิดศีลแทบทุกข้อ แต่มีบุญที่ได้ทำทานกับพระอรหันต์ไว้บ้าง จึงทำให้ไปบังเกิดเป็นเวมานิกเปรต เปลือยกายอยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางมหาสมุทร เรื่องของนางก็มีอยู่ว่า...
สรรเสริญ นินทา ธรรมดาของโลก
อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของเก่า นั่งไม่ใช้เป็นเหมือนมีในวันนี้ ชนทั้งหลายย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง ย่อมนินทาผู้พูพอประมาณบ้าง ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ผู้ให้คือผู้ชนะ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๕)
รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง ความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงธรรมอันบริสุทธิ์ภายใน ประเสริฐกว่าความสุขอื่น...
ไม่มีใครติเตียน
ผู้ใด เมื่อผู้อื่นทำความดีต่อตน ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แล้วรู้คุณของเขา ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
ดินแดนสุขาวดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และสัมมาทิฏฐิ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ จะถูกเชิญมาประดิษฐานในสวรรค์
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน