ปีติจากใจไม่ใช่อุปทานหมู่
คำถาม : มีกัลยาณมิตรชักชวนให้นุ่งขาวห่มขาว เข้าร่วมสมาทานศีล ๘ ปฏิบัติธรรมบ่อยครั้ง ทำให้มีโอกาสได้ศึกษาความหมายในสิ่งที่กล่าวท่องออกไปได้ปฏิบัติธรรมจึงเกิดความปีติอย่างบอกไม่ถูก พระอาจารย์คะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เขารียกว่าอุปทานหมู่จากคนข้างเคียงหรือเปล่าคะ?
ใกล้คนดีก็ได้ดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วยศีลสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผู้กล่าวสอนให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรมได้อย่างดี
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 8
ด้วยผลแห่งบุญที่ลูกๆ พระธรรมทายาททุกรูปได้ตั้งใจสมาทานรักษาธุดงควัตรและออกเดินธุดงค์ด้วยเท้าเปล่า จะส่งผลทำให้ลูกๆ พระธรรมทายาทแคล้วคลาดปลอดภัยจากอมนุษย์และภูตผีปีศาจทั้งหลาย
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3
“ ธุดงค์ ” แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่มีความเข้มงวดเป็นพิเศษ ที่จะช่วยกำจัดกิเลสให้หลุดร่อนออกไปจากใจได้อย่างดีเยี่ยม การสมาทานและถือธุดงควัตรของพระภิกษุทั้ง 13 ข้อนี้ จะไม่จำกัดด้วยระยะเวลา
อานิสงส์รักษาศีลจนตลอดชีวิต
แม้ว่าจะต้องทำงานรับจ้างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเพียงใดก็ตาม ท่านจะนึกถึงศีลตนที่ได้ประคองรักษาอย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง จนเวลาล่วงมาถึงหนึ่งแสนปี เมื่อวาระสุดท้ายแห่งชีวิตมาถึง ท่านก็ได้ระลึกถึงศีลของตนเอง ทำให้เกิดมหาปีติว่า “ศีลที่เราสมาทาน และได้รักษาอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ แม้นอนอยู่บนเตียงคนป่วย เราก็มีใจชื่นบาน ไม่หวั่นไหวต่อมรณภัยเลย
อานิสงส์รักษาศีลครึ่งวัน
สิกขาบททั้ง ๕ เหล่านี้ ถ้าหากสมาทานและรักษาไว้ดีแล้ว ศีลจะเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จะทำให้เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์สมบัติ และเพราะศีลนั่นเองจะทำให้เราเข้าถึงพระนิพพานได้ ฉะนั้น ท่านสาธุชนพึงชำระศีลของตัวเองให้หมดจดเถิด
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_4
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นผู้มีศีลบารมี หากท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ หางจามรีคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ถ้าปลดขนหางออกไม่ได้ มันก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหางด้วยชีวิต ฉันนั้นเถิด
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - สังฆทานประเสริฐกว่าปาฏิปุคคลิกทาน
ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ ก็ต้องถูกตำหนิเหมือนกัน ส่วนภิกษุใดแม้จะพำนักอยู่ที่วัดใกล้บ้าน ไม่ได้เป็นผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ได้สมาทานธุดงควัตร ไม่ได้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมอินทรีย์ มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ก็สมควรได้รับการสรรเสริญ ภิกษุรูปนั้นเป็นทักขิไณยบุคคลอันเยี่ยม
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 12
มโหสถเห็นอาการเศร้าซึมของนาง ก็ทราบว่า นางคงรู้สำนึกขึ้นมาแล้ว จึงได้ให้โอวาทต่อไปว่า “ต่อแต่นี้ไป เจ้าจงสมาทานเบญจศีลเถิดนะ แล้วพึงตั้งใจรักษาให้บริสุทธิ์ไปจนตลอดชีวิต ขอให้เจ้าพึงสำเหนียกไว้ในใจเสมอว่า เราจักเว้นจากการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไปจนกว่าชีวิตจะหา ไม่ เจ้าจะทำได้ไหมล่ะ”
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สั่งสมบุญเพื่อตนเอง
เทพธิดาผู้ได้สั่งสมบุญไว้อย่างดีแล้วในครั้งที่เป็นมนุษย์ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีล ที่ได้สมาทานไว้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และมีดวงตาเห็นธรรมแทงตลอดในอริยสัจ แล้วผลบุญจะเป็นเ่ช่นไรนั้น