พิธีมุทิตาสักการะเปรียญธรรมประโยค 9, 6, 3 และบาลีศึกษา 9, 6 สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย
พุทธศาสนิกชน แสดงความยินดี จัดมุทิตาสักการะเปรียญธรรมประโยค 9,6,3 และบาลีศึกษา 9,6 สำนักเรียนวัดพระธรรมกาย
ประกาศผลสอบบาลี 28 มี.ค. 2559 ชมถ่ายทอดสด ทั่วโลก !! ทางช่อง DMC
“ทางวัดพระธรรมกาย ได้รับสนองงานการคณะสงฆ์ด้วยการถ่ายทอดสดประกาศผลสอบบาลี ซึ่งปีนี้ถ่ายทอดสด ทางช่อง DMC เป็นปีที่ 12 แล้ว โดยเห็นว่าเป็นการส่งเสริมการศึกษาของการคณะสงฆ์ไทย และเป็นการรักษาภาษาบาลีให้คู่กับคณะสงฆ์ไทย และพระพุทธศาสนาตลอดไป
กำหนดการสอบบาลีสนามหลวงประจำปี 2557
สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ได้ประกาศวันสอบบาลีสนามหลวง ปี 2557 ทุกชั้นประโยค กำหนดการสอบบาลีสนามหลวงประจำปีพุทธศักราช 2557 การสอบบาลี ครั้งที่ 1 การสอบบาลี ครั้งที่ 2 (สอบซ่อม)
ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2556
ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2556 รายชื่อผู้สอบบาลีสนามหลวงได้
วัดพระธรรมกายพร้อม ! ส่งสอบบาลีสนามหลวง ปี 56 กว่า 670 รูป
พระมหาสุธรรม สุรตโน อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย แจ้งว่าระหว่างวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ คณะสงฆ์ไทยจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง แผนกบาลี ประจำปี พ.ศ.2556 ครั้งที่ 1 ระดับชั้นประโยค ป.ธ. 6-7-8-9
ประกาศรายชื่อผู้สอบซ่อมบาลีสนามหลวง พ.ศ.2554
ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง พร้อมรายชื่อผู้สอบบาลีได้ ป.ธ.9 ปี 2554
พระธรรมปัญญาภรณ์ เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศรายชื่อผู้สอบประโยคบาลีสนามหลวง ป.ธ.9 ซึ่งมีพระ-เณร เข้าสอบ จำนวน 385 รูป สอบได้ทั้งหมด 60 รูป แบ่งเป็นสามเณร 8 รูป เป็นที่น่าพอใจ
ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวงประจำปี 2554
ในปีนี้มีจำนวนพระภิกษุสามเณรขอเข้าสอบ ดังนี้ 1.ประโยค ป.ธ. 9 จำนวน 451 รูป 2.ประโยค ป.ธ. 8 จำนวน 637 รูป 3.ประโยค ป.ธ. 7 จำนวน 971 รูป 4.ประโยค ป.ธ. 6 จำนวน 962 รูป 5.ประโยค ป.ธ. 5 จำนวน 1,372 รูป 6.ประโยค ป.ธ. 4 จำนวน 2,153 รูป 7.ประโยค ป.ธ. 3 จำนวน 4,523 รูป 8.ประโยค 1 – 2 จำนวน 24,477 รูป รวมทั้งสิ้น 35,546 รูป
การเรียนบาลีและสอบบาลีสนามหลวง
การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลี เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์ ทรงจัดให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาเล่าเรียนตามกำลังสติปัญญา สืบเนื่องเป็นพระราชกรณียกิจมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
การเรียนบาลีมีประโยชน์อย่างไร
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนธรรมด้วยภาษาบาลี และพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ก็บันทึกด้วยภาษาบาลี ในฐานะพุทธบริษัท จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหลักภาษาบาลี เพื่อเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ในการศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ในพระพุทธศาสนา