มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - อบรมตนมุ่งสู่ทางสวรรค์
ผู้คนมากมายซึ่งต่างไม่ปรารถนาจะให้พระราชาออกผนวช พากันยื่นข้อเสนอมากมาย แต่พระองค์ไม่ได้ทรงยินดีกับสิ่งเหล่านั้น ยังคงมีพระทัยมุ่งมั่นที่จะเสด็จออกบรรพชาให้ได้ พระองค์ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจว่า "ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อยนิด ดุจน้ำที่อยู่ในโคลน เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินเช่นนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาท
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - โอกาสแห่งการบรรพชา
พญานาคคิดต่อไปว่า "ถ้าเราจะบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราก็จะได้อัตภาพกลับเป็นมนุษย์อีกครั้ง" จึงแปลงร่างเป็นชายหนุ่ม เข้าไปหาพระภิกษุเพื่อขอบรรพชา ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ว่าชายหนุ่มผู้นี้เป็นพญานาคแปลงกายมา เห็นว่ามีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จึงอุปสมบทให้
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมนำชีวิตสู่นิพพาน
ให้ดูตัวอย่างพระบรมศาสดาของเรา ที่ทรงอดทนต่อถ้อยคำหยาบคายของผู้ที่ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เรื่องมีอยู่ว่า นางมาคันทิยามีจิตอาฆาตต่อพระพุทธองค์ ที่ไม่ยอมรับนางเป็นภรรยา อีกทั้งพระองค์ยังกล่าวถึงโทษในสังขารของนางว่า เป็นของไม่งาม เต็มไปด้วยมูตรคูถและกรีส เมื่อนางได้เป็นมเหสีของพระเจ้าอุเทน จึงหาทางแก้แค้นด้วยการจ้างคนไปตามด่าว่าพระพุทธองค์
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ละวางเบญจกามคุณ
โสณกะได้ยินเสียงดนตรี ก็รู้เหตุการณ์โดยตลอด จึงรีบหลบเข้าไปในที่กำบัง ปุโรหิตได้ให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรี เพื่อเฉลิมฉลองพระราชาองค์ใหม่ และกราบทูลถวายพระราชสมบัติ พร้อมทั้งอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้เป็นพระราชา ณ ที่อุทยานนั้นเอง เมื่อเสด็จเข้าสู่พระราชวังพร้อมด้วยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ทรงลืมโสณกะผู้เป็นพระสหายอย่างสนิท
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ปุจฉา-วิสัชนา
ดังเช่นในสมัยพุทธกาล เหล่าทวยเทพในสวรรค์จะลงจากเทวโลก เพื่อมาฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านถือว่าการมาฟังธรรมเป็นกรณียกิจที่สำคัญ เทวดาแต่ละองค์ที่ลงจากเทวโลกในยามราตรี ต่างไม่มาเปล่า ไม่ใช่เตรียมมาฟังธรรมอย่างเดียว ท่านจะเตรียมคำถามที่ดีๆไว้อย่างน้อย ท่านละ ๑คำถาม เพื่อนำมาทูลถามพระพุทธองค์
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ
ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามครูฝึกม้าชื่อ เกสี ที่ไปเข้าเฝ้าพระองค์ว่า “ดูก่อนเกสี ใครๆก็รู้ว่าท่านเป็นครูฝึกม้าฝีมือดีคนหนึ่ง ท่านฝึกม้าอย่างไรเล่า” นายเกสีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฝึกม้าของข้าพระองค์มี ๓วิธี คือ วิธีแรก ข้าพระองค์จะฝึกด้วยวิธีละม่อม ค่อยเป็นค่อยไป วิธีที่สอง ฝึกด้วยวิธีรุนแรง และวิธีสุดท้ายฝึกผสมกันทั้งสองวิธี”
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
เมื่อตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว พระบรมศาสดาก็ตรัสสรุปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้นถึงความพินาศฉันใด แม้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าไม่เชื่อคำสอนของผู้รู้ทั้งหลาย ผู้หวังอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้นก็จะถึงความพินาศอย่างนั้นเหมือนกัน”
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - อดทนอย่างมีเป้าหมาย
เรายอมให้ลิงเบียดเบียนเรา ดีกว่าเราไปเบียดเบียนลิงตัวนี้ ถึงอย่างไรเราก็ไม่ทำปาณาติบาต เพียงเพื่อให้พ้นจากทุกข์ในปัจจุบัน แต่ไม่อาจพ้นจากทุกข์ในอบาย เพราะการทำปาณาติบาตนั้นอย่างแน่นอน แล้วกระบือ โพธิสัตว์ก็ยังคงประกอบขันติธรรม ยืนสงบนิ่งอยู่เช่นเดิม เป็นผู้มีใจหนักแน่นประดุจภูเขาศิลาแท่งทึบ ที่ไม่หวั่นไหวต่อแรงลมที่พัดมาจากทิศ ทั้ง ๔
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ยอดกตัญญูค้ำชูชีวิต
มีฝูงแร้งกลุ่มหนึ่งจำนวนหลายพันตัว อาศัยอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งห่างจากพระนครหลายร้อยโยชน์ คอยหากินสัตว์ที่ล้มตายเป็นอาหาร ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดพญาแร้ง มีรูปร่างสง่างามเป็นพิเศษ ทำหน้าที่ปกครองฝูงแร้งให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พวกแร้งหนุ่มๆ จะบินลาดตระเวนตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อสอดส่องหาเหยื่อ เมื่อรู้ว่าที่ไหนมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ล้มตาย ก็จะบินกลับมาให้สัญญาณแก่ฝูงแร้งทั้งหมด แล้วจึงค่อยร่อนลงไปกินเหยื่อพร้อมๆกัน