มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เสียดายโอกาส
“พายเถิดนะพ่อพาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า” หมายถึง จะทำอะไรก็ให้รีบทำ อย่าชักช้าลังเลใจ ต้องทุ่มเททำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ หากหมดเวลาหมดโอกาสแล้ว ก็เหมือนตลาดจะวาย คือ หมดเวลาค้าขาย คนซื้อก็หาย สินค้าก็หมด สินค้าคุณภาพดีๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการก็มีคนมาซื้อไปหมดแล้ว สายบัวจะเน่า คือ เอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้จำเป็นต้องทิ้งไป เพราะเหลือแต่ของที่มีคุณภาพต่ำ เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่อยากได้แล้ว
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๑)
การที่ ข้าพเจ้ามีความประมาท ประพฤติอกุศลธรรม ประกอบทุจริตกรรม ก็เพราะข้าพเจ้ามีความต้องการจะได้ทรัพย์มาบำรุงเลี้ยงบิดามารดา เลี้ยงดูบุตรภรรยา ต้องสงเคราะห์ ให้แก่ญาติสายโลหิต ต้องทำบุญส่งไปให้แก่บุรพเปตชน ต้องบวงสรวงแก่เทวดา ต้องทำกิจให้แก่องค์พระราชาธิบดี ฉะนั้น ขอท่านนายนิรยบาล ได้โปรดเมตตากรุณาต่อข้าพเจ้าด้วยเถิด
ผวาบ้านอบต."ผีสิง" ปีศาจสาวสไบเฉียง
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - เจดีย์แห่งพระธรรม
ถ้าภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา มีความเคารพในธรรม จะก่อให้เกิดความสงบสุข ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทุกคนจะมีจิตใจผ่องใส มีความสงบสำรวม น่าเลื่อมใส ทำให้ชาวโลกทั้งหลายต้องมองดูด้วยความอัศจรรย์ใจ และพลอยเลื่อมใสในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปด้วย
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 6 ชนะสัจจกนิครนถ์)
อาสวะเหล่าใดที่ทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดภพใหม่ มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป บุคคลใดยังละไม่ได้ นั่นแหละเป็นคนหลง แต่ถ้าละกิเลสเหล่านั้นได้แล้ว นับว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ
อานิสงส์ถวายขนมเบื้อง
ในตระกูลที่ไม่มีความศรัทธา มีแต่ความตระหนี่ ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ได้ถวายขนมเบื้องแด่พระคุณเจ้าผู้เที่ยวบิณฑบาต ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ทำให้ข้าพเจ้าสมบูรณ์ด้วยมหาสมบัติอันโอฬารนี้
นิรยภูมิสำหรับคนบาป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะโยนสัตว์นรกเข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั้นมีสี่มุม สี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่ากัน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้นสำเร็จด้วยเหล็กล้วนๆ ลุกโพลง แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้าน ประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ
อรูปภพ
คำว่าอรูปพรหม ไม่ได้หมายความว่า พรหมผู้ไม่มีรูปร่าง ท่านมีรูปกาย มีความสวยงามยิ่งกว่าพรหมในรูปภพเสียอีก ท่านสง่างามกว่า และประณีตกว่า เพราะท่านได้กายที่ใกล้เคียงลักษณะมหาบุรุษเข้าไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกายที่สมบูรณ์แบบที่สุด ถ้าสูงขึ้นไปจากอรูปภพก็จะเป็นอายตนนิพพาน เหมือนคำว่าอมนุษย์ ไม่ได้หมายว่าไม่มีมนุษย์ เพียงแต่ว่าไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นเอง อรูปพรหมก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีรูปพรหม แต่แปลว่า ไม่ใช่รูปพรหม
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๒ )
บุคคลให้ทานไม่ได้เพราะเหตุผล ๒ ประการ คือ ความ ตระหนี่ และความประมาท บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทาน คนตระหนี่กลัวความอดอยากยากจน เพราะความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ และจะกลับมามีผลต่อคนพาลผู้หลงผิด ฉะนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่แล้วรีบให้ทาน เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า