มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๒)
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ถึงแม้ว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เสร็จกิจของการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ท่านยังมีความเสียสละ รับเป็นธุระในกิจการงาน ของสงฆ์ เป็นการกระทำที่น่ายกย่อง และเป็นแบบอย่างในการสร้างบารมี
พระสงฆ์สุขภาพย่ำแย่ กินยาแก้ปวดครั้งละ 6 เม็ด ดื่มกาแฟ 8 แก้ว/วัน
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ความโลภทำให้คนมืดบอด
ทันทีที่เข้าไปในเมืองนั้น เขาเห็นนายประตูทูนจักรกรด หมุนบดขยี้อยู่บนศีรษะ แต่เขากลับมองเห็นเหมือนมงกุฎดอกบัว และมองเห็นเครื่องจองจำ ๕ ชิ้นที่หน้าอก เหมือนเป็นสังวาลย์เครื่องประดับของเทวดา ส่วนโลหิตที่ไหลจากศีรษะ ก็มองเห็นเป็นจันทน์แดงที่ชะโลมทา และเสียงครวญครางของสัตว์นรก ก็ฟังเป็นเสียงเพลงขับที่ไพเราะ
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ - รสแห่งความคุ้นเคย
ความไม่มีโรคภัยไข้เจ็บถือเป็นลาภอันประเสริฐ แม้จะเป็นเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่หากถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนแล้ว จะแสวงหาความสุขแบบชาวโลกทั่วไป ก็ได้ไม่เต็มที่ เพราะความผิดปกติของสังขารร่างกาย ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สุดยอดของความมีลาภแบบชาวโลกทั่วไป คือ ขอให้เราเป็นผู้ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ไม่ควรดูหมิ่นบุญ
ขึ้นชื่อว่าบุญ อันใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย บุคคลถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าเล็กน้อย เพราะว่าบุคคลผู้ฉลาดในการทำบุญ ย่อมเต็มเปี่ยมไปด้วยบุญโดยลำดับ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดฝา ย่อมเต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 26
มโหสถทำท่าจะหัวเราะ แล้วก็ไม่กล่าวอะไรเลย จึงถามขึ้นว่า “พ่อมโหสถ พวกเราจะทำอย่างไรกันดี เห็นทีว่าคราวนี้คงต้องถูกปรับแน่ๆ ” พอถูกถามเช่นนั้น มโหสถจึงตอบพลางยิ้มอย่างเบิกบานว่า “ปัญหานี้ ไม่ว่าใคร ก็ไม่อาจจะแก้ได้ด้วยเหตุผลธรรมดาทั่วไป แต่จะพึงแก้ได้ด้วยการย้อนปัญหาเท่านั้น”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 25
ชาวปาจีนยวมัชฌคามทุกคนที่มารอฟังพระบรมราชโองการ อยู่ในที่นั้น ต่างก็พากันตกตะลึงพรึงเพริดกับปัญหาชวนพิศวงของพระราชา แต่คราวนี้ดูเหมือนจะต่างจากทุกครั้งที่ผ่านมา นขณะที่หลายคนเริ่มแสดงอาการว่าไม่สู้จะพอใจนัก ถึงกับตะโกนลั่นด้วยความเหนื่อยหน่ายใจว่า “พระราชาของพวกเรา ดูท่าจะเป็นเอามาก พระองค์ทรงรู้ทั้งรู้ว่าโคมงคลนี้เป็นโคตัวผู้ ก็แล้วพระองค์จะมาบังคับให้พวกเราทำคลอดโคนี้เพื่ออะไรกันล่ะ”
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - ศิลปะำในการดำรงชีวิต
ชายหนุ่มผู้มีศรัทธา เขาตั้งใจอุปัฏฐากบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดครบถ้วนไตรมาส บุญใหญ่ตลอด ๓ เดือนทำให้เขาได้มาบังเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีวรรณะผ่องใส มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามเหมือนสีดอกหงอนไก่ ต่อมาได้ออกบวชประพฤติธรรม ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลอันเลิศ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - จนข้ามภพ รวยข้ามชาติ ( ๓ )
พระองค์ทรงรับอาราธนา แล้วประทานบาตรแก่มหาทุคตะ มหาทุคตะรับบาตรไปด้วยความดีใจ เสมือนหนึ่งได้มหาสมบัติจักรพรรดิ น้ำตาไหลอาบแก้ม ด้วยความปลาบปลื้มปีติยินดี แม้พระราชามหาอำมาตย์ จะอ้อนวอน ขอบาตร หรือต่อรองขอซื้อบาตร ด้วยราคาเป็นแสน เขาก็ไม่ยอมขาย เพราะมหาทุคตะเป็นผู้มีปัญญา เห็นว่าบุญเท่านั้นที่จะเป็นสมบัติติดตัวไปได้ ทั้งในภพนี้และภพเบื้องหน้า จึงไม่ยอมยกบุญนี้ให้แก่ใคร
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม - ทําสิ่งแวดล้อมให้เป็นปฏิรูปเทส ( ๑ )
นางตั้งใจทำหน้าที่ของศรี สะใภ้ที่ดีได้ครบสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่นางปรารถนามากๆ และยังไม่มีโอกาสทำ คือ การถวายสังฆทานแด่ภิกษุสงฆ์ เพราะตระกูลฝ่ายสามีเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา แต่ไปศรัทธาในลัทธิ ชีเปลือยด้วยความเข้าใจผิดว่า ชีเปลือยเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์