โลกุตตรภูมิ
ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน และปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่ง สัตว์ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เราตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งประการนั้นด้วย
ธรรมะเพื่อประชาชนพรหมปาริสัชชาภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมบังเกิดในพรหมโลก
ธรรมะเพื่อประชาชนมงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๓
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเน้นให้พระภิกษุสงฆ์มุ่งแสวงหาความสงบวิเวก แสวงหาความบริสุทธิ์ เพื่อที่จะทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อแจ้งแล้ว จะได้เป็นแสงสว่างต่อไป ไม่ทรงให้หลงใหลในลาภสักการะ ซึ่งเป็นเพียงเปลือกนอก ไม่ใช่สาระแก่นสารที่แท้จริง แก่นสารที่แท้จริง คือ ต้องทำพระนิพพานให้แจ้ง ต้องให้รู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต
ธรรมะเพื่อประชาชนอรหัตตภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือสมณะที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา
ธรรมะเพื่อประชาชนโพชฌงค์ ๗ ทางสำเร็จสู่นิพพาน
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปในจาคะคือการสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์..เจริญวิริยสัมโพชฌงค์...เจริญปีติสัมโพชฌงค์.เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์..เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะน้อมไปในจาคะ โพชฌงค์ ๗ นี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
ธรรมะเพื่อประชาชนปฏิปทาแห่งพรหมโลก
ตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้าหรือประหม่าเช่นเดียวกัน ดูก่อนมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
ธรรมะเพื่อประชาชนอรหัตโลกุตรภูมิ ภูมิของพระอรหันต์
อรหัตโลกุตรภูมิ คือ ภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ควรแก่การบูชา หมายความว่า ผู้ที่เข้าถึงภูมินี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์
ตายแล้วไปไหนมงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ชีวิตใหม่ในเพศสมณะ
พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา คือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำและทุกข์จร ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นล่าง ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงสละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นบรรพชิต ปลงผมและหนวด ละทิ้งเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาของคฤหัสถ์
ธรรมะเพื่อประชาชน