ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
มีนกจำนวนมากอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ริมสระน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งในสระมีพญานาคที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ฝูงนกจำนวนมากได้ขับถ่ายลงไปในสระน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความหายนะที่ได้เกิดขึ้นกับฝูงนกเหล่านั้น
มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
ในช่วงฤดูร้อนที่เกิดความแห้งแล้งแสนสาหัส บรรดาต้นไม้ต่างพากันล้มตาย มีพญานกแขกเต้าเพียงตัวเดียวที่ไม่ยอมทิ้งต้นมะเดื่อไปไหนถึงแม้ว่าต้นมะเดื่อจะไร้ผล ไร้กิ่ง ไร้ใบ แต่พญานกก็แทะกินกิ่งก้านที่พอมีประทังชีวิตของตน จนร้อนถึงบัลลังก์ของท้าวสักกะ
ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภการที่พระสารีบุตรสามารถพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิศดาร ณ ประตูสังกัสนคร
สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
ลูกสุนัขน้อยตัวหนึ่งถูกนำมาเลี้ยงโดยผู้ดูแลหอฉันในพระอาราม ด้วยความน่ารักและเฉลียวฉลาดลูกสุนัขจึงเป็นที่รักและเอ็นดูของภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าคนหนึ่งนำภัตตาหารมาถวายพระ เมื่อเห็นลูกสุนัขก็เกิดความเอ็นดู เลยขอซื้อลูกสุนัขเพื่อไปกำนัลผู้ใหญ่ ในระหว่างการเดินทางลูกสุนัขได้กัดเชือกที่ผูกล่ามตน แล้วเดินทางกลับมาหาเจ้าของผู้เลี้ยงคนเดิมยังโรงฉันในพระอาราม
สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
พระโอรสสังวรกุมารเป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๐๐ แห่งพระราชาเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ ของเหล่าปวงประชา เหตุเพราะพระองค์เป็นผู้ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม เป็นผู้ไม่ความริษยา เคารพนบนอบในผู้มีคุณ มีความยินดีในธรรม ทำให้พระองค์เป็นผู้ที่ถูกเลือกให้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาของตน
วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมหาปูชนียาจารย์ ซึ่งตรงกับ วันคล้ายวันมรณภาพของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
116 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568 วันคล้ายวันเกิดครบรอบ 116 ปี คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
สังขเศรษฐีได้ช่วยเหลือสหายของตนนามว่าปิลิยเศรษฐี โดยแบ่งเงินของตนให้ ๔๐ โกฎิ แล้วยังแบ่งสมบัติทั้งหลายที่ตนมี ทั้งข้าทาสบริวารให้แก่ปิลิยเศรษฐีครึ่งหนึ่งในครั้งที่เพื่อนของตนเดือดร้อน แต่ในยามที่สังขเศรษฐีลำบาก ปิลิยเศรษฐีกลับเมินเฉยไม่ยอมช่วยเหลือใดๆ
สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
พระฤาษีได้ช่วยเหลือทุฏฐกุมารผู้มีใจโหดร้ายให้รอดพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลหลาก แต่ทุฏฐกุมารกลับโกรธแค้นที่ฤาษีดูแลและให้ความสำคัญกับชีวิตสัตว์มากกว่าตน เลยผูกใจเจ็บและได้สั่งตัดหัวพระฤาษีทันทีเมื่อได้โอกาส
สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
แม่น้ำสายเล็กๆ ซึ่งเป็นแดนกั้นระหว่างเมืองกบิลพัสด์ุและเมืองเทวทหะได้เหือดแห้งลง เป็นเหตุให้ผู้คนทั้งสองเมืองเกิดการทะเลาะวิวาทแย่งน้ำกัน จนเกิดเป็นศึกสงครามระหว่างเมืองทั้งสองเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จมาห้ามทัพทั้งสองฝ่ายเอาไว้