เทพบุตรมาร (๒)
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น สัมผัสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่ารักน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารครอบงำ เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น มารผู้มีบาปพึงใช้บ่วง ทำตามความปรารถนาไม่ได้
ธรรมะเพื่อประชาชนเทพบุตรมาร (๑)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ เสื้อผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป โดยได้ศึกษามาว่า “พวกทวยเทพผู้สถิตอยู่ที่สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงามมาก เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข” ดังนี้แล้ว จึงตั้งจิตปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งทวยเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีเถิด” เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตไว้มั่น อบรมจิตอย่างนั้นโดยมิได้อบรมเพื่อคุณวิเศษเบื้องสูง อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ธรรมะเพื่อประชาชนมาร ๕ ฝูง
ประทีปที่ส่องแสง ถ้ามีแสงน้อย ย่อมดับไปด้วยลมได้ เหมือนเถาวัลย์ที่เหี่ยวแห้งไป ฉันใด ท่านก็จงเป็นผู้ไม่ถือมั่น แล้วกำจัดมาร ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอินทร์ฉันนั้นเถิด เมื่อท่านกำจัดมารได้อย่างนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากความกำหนัดพอใจในเวทนาทั้งหลาย จะเป็นผู้มีความเย็น รอคอยเวลานิพพานในอัตภาพนี้ทีเดียว
ธรรมะเพื่อประชาชน