สรณะอันเกษม
มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะนั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
กิจกรรมงานบุญ ประจำเดือนธันวาคม ส่งท้ายปีเก่า 2565 ต้อนรับปีใหม่ 2566
กิจกรรมงานบุญ ประจำเดือน ธันวาคม ส่งท้ายปีเก่า 2565 ต้อนรับปีใหม่ 2566
มหาสมัยสูตรครั้งที่ 1 (ตอนพรหมและเทวาโกลาหล)
พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในเวลากลางวัน พระจันทร์ย่อมส่องแสงในเวลากลางคืน กษัตริย์เมื่อทรงเครื่องรบแล้วย่อมรุ่งเรือง พราหมณ์ผู้มีความเพ่งเพียร ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดชตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืนทั้งหมด
ชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า (1)
บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความนี้ว่า บุตรทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน บิดา และพวกพ้องทั้งหลาย ก็ไม่มีเพื่ออันต้านทาน เมื่อบุคคล ถูกความตายครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพาน ให้หมดจดโดยพลันทีเดียว
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ
สักกปัญหสูตร ตอนที่๑ ( ฤาจะสิ้นท้าวสักกะ )
การที่จะดำรงภาวะของความเป็นมนุษย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์นั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องดำรงตนให้รอดปลอดภัยจากอบายภูมิ
สามเณรนิโครธ (๒)
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ฝึกตนแล้ว เป็นคนเที่ยงตรง เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติธรรมสมํ่าเสมอ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นภิกษุ
พระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
มหาโควินทสูตรตอนที่ ๗ (ออกบวช)
บุคคลผู้ปีติในธรรม เมื่อดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสแห่งความสงบแล้ว ย่อมไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ก่อนลมหายเฮือกสุดท้าย)
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้น นำสุขมาให้