ปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือ วันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์
ขันธปริตตชาดก ชาดกว่าด้วยพระปริตรป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ
ณ ที่ฝั่งแม่น้ำที่คณะฤาษีของพระโพธิสัตว์อาศัยอยู่นั้น มีงูพิษนานาชนิดอาศัยอยู่ งูได้กัดฤาษีเสียชีวิตไปหลายตน พระโพธิสัตว์เห็นว่าฤาษีทั้งหลายต่างพากันหวาดกลัวงูพิษนั้น จึงเรียกประชุมและให้โอวาทแก่ฤาษีทั้งหลาย “ หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกท่าน "
สุวรรณสามชาดก ชาดกว่าด้วยผู้บำเพ็ญเมตตาบารมี
ข้าพเจ้าเป็นบุตรฤาษี ชื่อว่าสุวรรณสาม บัดนี้บาดเจ็บสาหัสต้องตายด้วยคมศรของท่าน ทุกข์อันสาหัสนี้เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดในโลก ข้าพเจ้าจึงไม่ได้โกรธเคืองท่าน สงสารแต่บิดามารดาผู้ตาบอด ซึ่งมีเพียงข้าพเจ้าเท่านั้นที่ดูแล เมื่อขาดอาหารและน้ำ ท่านทั้งสองก็คงต้องตายตาม ทุกข์ที่พลัดพรากจากบิดามารดาผู้ไร้คนดูแลนั้นยิ่งใหญ่กว่าทุกข์ที่จะต้องตายด้วยคมศรนี้หลายเท่านัก
สุราปานชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
พวกดาบสดื่มสุราแล้วก็เมามายไม่ได้สติ บางพวกลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง รุ่งเช้าพอสร่างเมา ฤาษีพากันตื่นเห็นอาการอันวิปปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ “ โธ่ พวกเราไม่ได้กระทำอันสมควรแก่บรรพชิตเลย แล้วถ้าอาจารย์รู้จะเสียใจเพียงไร ที่มีศิษย์ทำตัวเยี่ยงนี้ ”
กัลยาณธรรมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีกัลยาณธรรม
" เราไม่ได้ออกบวช แต่คนอื่นทั้งหมดกลับคิดว่าเราบวช นี่คงเป็นเสียงดีสินะ เราจะไม่ทำให้เสียงดีนี้หายไป เราจะออกบวช ” เศรษฐีจึงกลับไปเข้าเฝ้าพระราชาอีกครั้ง พระราชาเมื่อเห็นเศรษฐีเดินมาเข้าเฝ้าอีกก็แปลกใจจึงตรัสถามว่า “ ท่านมหาเศรษฐี ท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไมจึงกลับมาอีกเล่า ” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใดบุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่พึงทำตนให้เสื่อมสมัญญานั้นเสีย "
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
พันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
อดีตกาลอันไกลออกไป ยังมีอัครเหสีผู้สมบูรณ์พร้อมในอิตถีลักษณ์ ชวนหลงไหล บำรุงบำเรอสุขแก่พระเจ้ากาสี อยู่ในพาราณสีนครหลวง “ หญิงสวยอย่างเรา แม้แต่พระเจ้ากาสีก็ยังหลงไหล ฮึ แล้วมีรึ ชายหนุ่มอื่นใดจะไม่ต้องการ
กายนิพพินทชาดก ชาดกว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
รุ่งเข้าวันหนึ่ง ชายป่วยได้ตื่นเช้ากว่าปกติ เขาหันหน้าออกไปทางหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ เขามองออกไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้าน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาบิณฑบาต แล้วเขาก็เกิดความคิดอย่างหนึ่ง “ จริงสินะ ชีวิตมันไม่เที่ยงจริง ๆ สังขารย่อมร่วงโรยเป็นธรรมดา ถ้าเราหายจากโรคนี้เราจะบวช ”
โกกาลิกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่มแต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ”
อุุทัญจนีชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงโจร
พระโพธิสัตว์รู้ดีว่าไม่อาจเหนี่ยวรั้งผู้เป็นลูกที่กำลังลุ่มหลงในตัวหญิงผู้นั้นได้ จึงอนุญาตและให้โอวาทไว้ “ เอาเถิดลูกพ่อ หากเจ้าต้องการไปอยู่กับนาง เจ้าก็ไปเถิด ” “ ถ้างั้นข้าลาล่ะนะท่านพ่อ ” “ ช้าก่อนลูกเอ๋ย เมื่อเจ้าไปอยู่กับนางแล้ว หากวันใดนางใช้ให้เจ้าทำงานหาเลี้ยงดูนาง เมื่อนั้นเจ้าจงกลับมาหาพ่อ ” ดาบสหนุ่มมาอยู่กับนางผู้ล่อลวงนั้นได้ไม่นาน นางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจตน