เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๖ )
ข้าพเจ้านั้น จะเว้นจากความเป็นคนตระหนี่ในวันนี้แหละ อนึ่ง ข้าพเจ้าจะไม่พึงกระทำบาปอะไรอีกต่อไป การไม่ให้สิ่งของอะไร จะไม่มีแก่ข้าพเจ้าอีกต่อไป วันใดข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้ วันนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ยอมกินข้าว
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๕ )
แต่ครั้นจะให้ก็กลัวว่า ข้าวปายาสคงไม่เหลือแน่ เพราะมีพราหมณ์ ผู้ไม่ได้รับเชิญ มารอบริโภคภัตของตนถึง ๓ คน แต่ถ้าจะไม่ให้ก็อึดอัด ส่วนความตระหนี่ที่ฝั่งแน่นอยู่ในใจนั้น ก็ยังไม่หลุดออกไปเลยทีเดียว มันรบกันไปรบกันมาอยู่ภายใน ระหว่างให้กับไม่ให้ เมื่อกุศลจิตส่งผลก่อน จึงได้แต่พูดด้วยความลำบากใจว่า
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๔ )
เรามักจะเห็นเศรษฐีที่ตระหนี่ในการบริจาค แต่ตัวเองใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย แม้ของกินของใช้จะแพงแค่ไหน ก็กล้าทุ่มเงินซื้อหามา แสวงหาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้คนเขาชื่นชมว่า ตัวเองเป็นคนรํ่ารวย แต่เศรษฐีท่านนี้กลับตระหนี่เป็นอย่างมาก จึงเป็น สิ่งที่พวกเราควรศึกษาว่า ทำอย่างไร ท่านจึงจะเป็นคนรวย ทั้งทรัพย์และน้ำใจ รวยทั้งภพนี้และทุกภพทุกชาติ
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๓ )
เศรษฐีนี้เข้าไปตัดทานวงศ์ของเรา เมื่อละโลกจักต้องไปเกิดในนรกโดยไม่ต้องสงสัย เราจะต้องลงไปปราบความเห็นผิด และทำเขาให้เป็นผู้ดำรงวงศ์ทาน ซึ่งเป็นอริยประเพณีอันดีงามของเราให้สืบต่อยาวนานที่สุด
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๒ )
บุคคลให้ทานไม่ได้เพราะเหตุผล ๒ ประการ คือ ความ ตระหนี่ และความประมาท บัณฑิตผู้รู้แจ้ง เมื่อต้องการบุญพึงให้ทาน คนตระหนี่กลัวความอดอยากยากจน เพราะความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ และจะกลับมามีผลต่อคนพาลผู้หลงผิด ฉะนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่แล้วรีบให้ทาน เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า